Skip to Content

ขนส่งระหว่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริษัทฯ มีรายได้จาก

การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ สรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนี้

1. บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในรัฐ Delaware ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับ

ใบอนุญาตจาก Federal Aviation Administration ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทำการขนส่งสินค้า

ทางอากาศ ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบกิจการรับขนส่งพัสดุทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่น ๆ

2. บริษัทฯ ได้เข้ามาตั้งสาขาในประเทศไทยในการดำเนินการด้านการขนส่งสินค้า

ระหว่างประเทศ (Cargo) และดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุเร่งด่วนระหว่างประเทศ (International

Priority) โดยใช้เครื่องบินของบริษัทฯ เอง ในแต่ละสัปดาห์ บริษัทฯ ได้จัดให้มีเที่ยวบินเพื่อ

การขนส่งพัสดุและพัสดุเร่งด่วน จำนวน 5 เที่ยวบินสำหรับขาเข้า และ 5 เที่ยวบินสำหรับขาออก

3. ในการประกอบกิจการในประเทศไทย สาขาในประเทศไทยของบริษัทฯ จะมีรายได้

จากการขนส่งพัสดุทั้งขาเข้าและขาออกตามสัญญารับขนที่สาขาในประเทศไทยทำกับลูกค้า

4. เนื่องจากสาขาในประเทศไทย ให้บริการขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วน ซึ่งจะต้องดำเนินการ

ด้านพิธีการศุลกากรสำหรับพัสดุที่นำเข้าหรือส่งออกแทนลูกค้าด้วย และโดยที่สาขาในประเทศไทยไม่

สามารถขออนุญาตดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรจากกรมศุลกากรได้ เนื่องจากมิใช่บริษัทไทย ดังนั้น

สาขาในประเทศไทยจึงได้ว่าจ้างบริษัท Express (Thailand) จำกัด (บริษัท ETL) ซึ่งตั้งขึ้นตาม

กฎหมายไทย และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร เพื่อให้บริการดำเนินการผ่านพิธีการ

ศุลกากร ตลอดจนขนส่งพัสดุในช่วงของการขนส่งภายในประเทศไทยให้กับลูกค้า

5. ในการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรดังกล่าว สาขาในประเทศไทยจะออกเงินสำรอง

จ่ายล่วงหน้าเพื่อค่าภาษีนำเข้าหรือส่งออกแทนลูกค้า ซึ่งกรมศุลกากรจะออกใบเสร็จรับเงินสำหรับการ

ชำระภาษีดังกล่าวในนามของลูกค้า หากเป็นการดำเนินการพิธีการศุลกากรตามวิธีปกติ และในนามของ

ETL หากเป็นการดำเนินการพิธีการศุลกากรแบบเร่งด่วน (Express clearance) ค่าภาษีศุลกากร

ดังกล่าว สาขาในประเทศไทยจะเรียกเก็บคืนจากลูกค้าตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมทั้งเรียกเก็บ

ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรอีกจำนวนหนึ่ง

6. สาขาในประเทศไทยได้หารือว่า กรณีที่สาขาในประเทศไทย เรียกเก็บเงินดังต่อไปนี้

จากลูกค้า เนื่องจากการรับขนพัสดุระหว่างประเทศตามข้อเท็จจริงดังกล่าวสาขาในประเทศไทยจะมี

ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร

(ก) ค่าขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ

(ข) ค่าภาษีศุลกากรที่สำรองจ่ายไป และเรียกเก็บคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง

(ค) ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505, มาตรา 80/1(3), มาตรา 66 วรรคสอง, มาตรา 80

แนววินิจฉัย

กรณีที่สาขาในประเทศไทยของบริษัทฯ ให้บริการรับขนพัสดุทางอากาศระหว่างประเทศ

โดยใช้เครื่องบินของบริษัทฯ เอง ตามข้อเท็จจริงข้างต้นมีภาระภาษีได้ ดังนี้

1. ในส่วนของค่าบริการรับขนพัสดุระหว่างประเทศ

(ก) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เนื่องจากค่าบริการรับขนพัสดุระหว่างประเทศตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้า

ลักษณะเป็นเงินได้จากการดำเนินการเดินอากาศยานในการจราจรระหว่างประเทศ ดังนั้น หากบริษัทฯ

มีถิ่นที่อยู่ในทางภาษีอากรในประเทศสหรัฐอเมริกา และไม่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้อนุสัญญาตาม

ข้อ 18 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

ค่าบริการรับขนดังกล่าว จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (ก)

แห่งอนุสัญญาดังกล่าวและมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

(ข) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การให้บริการรับขนพัสดุระหว่างประเทศของสาขาในประเทศไทย เข้าลักษณะ

เป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งได้

รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

2. ในส่วนของค่าภาษีศุลกากร

เนื่องจากค่าภาษีศุลกากรจากการนำเข้าหรือส่งออกพัสดุเป็นภาระของลูกค้า ดังนั้น

กรณีที่สาขาในประเทศไทยออกค่าภาษีศุลกากรไปก่อน แล้วเรียกเก็บค่าภาษีศุลกากรจากลูกค้าคืนตาม

จำนวนที่จ่ายจริง จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือมูลค่าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่อย่างใด

3. ในส่วนของค่าธรรมเนียมการดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร

(ก) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าธรรมเนียมการดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรตามข้อเท็จจริงข้างต้น ไม่เข้า

ลักษณะเป็นเงินได้จากกิจการที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการขนส่ง (activities closly

connected with the direct operation of aircraft) ดังนั้น เงินได้ดังกล่าว จึงไม่ใช่ส่วน

หนึ่งของเงินได้จากการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หากแต่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ ฉะนั้น เมื่อ

สาขาในประเทศไทยของบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการกับลูกค้า จึงถือเป็นการที่บริษัทฯ ให้บริการผ่าน

สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับ

ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และสาขาในประเทศไทยจึงต้องนำค่าธรรมเนียม

ดังกล่าว มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามมาตรา 66 วรรคสอง

แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาดังกล่าว

(ข) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การให้บริการดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะ

เป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบการตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในข่ายต้องเสีย

ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/1932 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)