Skip to Content

ขนส่งระหว่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์ ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์ ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษของประเทศ

แคนาดา สมาคมฯ เป็นองค์การพิเศษองค์การหนึ่งของประเทศแคนาดา แต่มิใช่เป็นองค์การของรัฐบาล

เนื่องจากสมาคมฯต้องการจัดตั้งสำนักงานสาขาขึ้นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความ

สะดวกและรักษาความเป็นระเบียบในเรื่องบัตรตั๋วโดยสารให้แก่สายการบินพลเรือนที่เป็นสมาชิกของ

สมาคมฯ ได้แก่ การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานและการจัดเก็บเงินของตัวแทนขายบัตรโดยสารและขาย

ระวางสินค้า นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมหลักสูตรการอบรมวิธีการเขียนบัตรโดยสารให้แก่บรรดา

ตัวแทนสายการบิน รายได้ของสมาคมฯ มีดังนี้

1. ค่าสมัครสมาชิกแรกเข้าและค่าสมาชิกประจำปี

2. ค่าโฆษณาบนตั๋วโดยสาร

3. ค่าอบรมการเขียนบัตรตั๋วโดยสาร

4. การขายเครื่องรูดบัตรตั๋วโดยสาร

5. การขายตรายาง

6. ค่าปรับการยกเลิกใช้บัตรตั๋วโดยสาร

7. ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์

สมาคมฯ ขอทราบว่า มีภาระต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ และหากจะต้องเสีย

กรมสรรพากรจะพิจารณายกเว้นภาษีได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65, มาตรา 66, มาตรา 77/2, มาตรา 104

แนววินิจฉัย

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เนื่องจาก IATA ได้จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษของประเทศแคนาดา และโดยที่การ

ให้บริการตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นกิจการที่ดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไร โดย

นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศตามคำนิยาม “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตาม

มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร สำนักงานสาขาของ IATA ในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำใน

ประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่น

แบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (แบบ ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของ

รอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับกรณีสำนักงานสาขาของ IATA ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน

อันเข้าตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 และมาตรา 70 แห่ง

ประมวลรัษฎากร สำนักงานสาขาของ IATA ในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ

นำส่งไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้ค่าสมัครสมาชิกแรกเข้าและค่าสมาชิกประจำปีตามข้อ 1. รายได้ค่าโฆษณาตาม

ข้อ 2. และรายได้จากค่าอบรมการเขียนบัตรตามข้อ 3. เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา

77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร และรายได้จากการขายเครื่องรูดบัตรตามข้อ 4. และการขาย

ตรายางตามข้อ 5. เข้าลักษณะเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร สำนักงาน

สาขาของ IATA ในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องนำรายได้ดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2

แห่งประมวลรัษฎากร

ส่วนรายได้ค่าปรับตามข้อ 6. และดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ตามข้อ 7. ไม่อยู่ใน

บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด

3. อากรแสตมป์

กรณีสำนักงานสาขาของ IATA ในประเทศไทย ได้กระทำตราสารตามที่ระบุไว้ในบัญชี

อัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สมาคมฯ มีหน้าที่ต้องเสียอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน

บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/5851 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)