Skip to Content

ขนส่งระหว่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

บริษัท ม. จำกัด ได้หารือ กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งใน

ประเทศและระหว่างประเทศ มีเรือทั้งหมด 5 ลำ เรือบางลำบริษัทฯ ได้ทำการวิ่งขนส่งสินค้าทั้งใน

ประเทศ และระหว่างประเทศ ซึ่งรายได้คิดเป็น (VOY) รายเที่ยวและแยกได้ว่า (VOY) เที่ยวใด

ขนส่งในประเทศหรือต่างประเทศ โดยแยกได้ในแต่ละลำเรือ บริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนขอใช้สิทธิยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศตั้งแต่ปี 2541 และได้รับอนุมัติ

จากกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1. บริษัทฯ ได้ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 แต่ได้รับ

อนุมัติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 บริษัทฯ จะขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1

มกราคม 2542 ได้หรือไม่

2. ในการเฉลี่ยรายได้นั้นบริษัทฯ มีสิทธิที่จะคำนวณอัตราเฉลี่ยจากฐานรายได้ที่ผ่านมาของ

ปีที่แล้วนำมาคำนวณหาอัตราเฉลี่ยแล้วนำมาใช้ไปก่อน พอสิ้นปีจึงจะทำการปรับปรุงจะได้หรือไม่

3. ค่าใช้จ่ายบางอย่างบริษัทฯ สามารถแยกได้ว่าเกิดจากกิจการส่วนใด แต่สำหรับค่าใช้จ่าย

ที่ไม่สามารถแยกได้โดยชัดแจ้ง จะต้องทำการเฉลี่ยอย่างไร

4. ขณะที่บริษัทฯ ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น บริษัทฯ มีเรือ ทั้งหมด 5

ลำ และได้ขายไปก่อนที่จะได้รับอนุมัติ จำนวน 1 ลำ จะต้องทำเรื่องแจ้งให้กรมสรรพากรทราบหรือไม่

อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 67

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้จาก

การขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 บริษัทฯ จึงได้รับสิทธิยกเว้น

ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอฯ คือ ตั้งแต่

เดือนกรกฎาคม 2541 ทั้งนี้ ตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่

72)ฯ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541

2. กรณีเงินได้จากการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ.

2540 นั้น จะต้องเป็นเงินได้ที่บริษัทฯ ได้รับหรือพึงได้รับตามสัญญารับขนของทางทะเลตามที่ระบุไว้ในข้อ

2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 72)ฯ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.

2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 75)ฯ ลงวันที่

14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โดยบริษัทฯ ได้ใช้เรือไทยในการประกอบ กิจการขนส่งสินค้าทางทะเล

ระหว่างประเทศนั้น โดยเรือไทยนั้นบริษัทฯ ได้แจ้งรายละเอียดของเรือที่ใช้ในกิจการต่อกรมสรรพากร

ซึ่งรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว จะเป็นไปตามบัญชี รายได้ในแต่ละลำเรือ ทั้งนี้ ตามข้อ

6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ดังกล่าว

3. กรณีรายจ่ายใดที่เป็นรายจ่ายร่วมกันในการประกอบกิจการ ทั้งที่ไม่ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้และที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 และ

รายจ่ายนั้นไม่สามารถแยกได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด บริษัทฯ มีสิทธิเฉลี่ย

รายจ่ายนั้นตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ทั้งนี้ ตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 72)ฯ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541

4. กรณีบริษัทฯ ได้ขายเรือไทยซึ่งบริษัทฯ ได้แจ้งรายละเอียดของเรือไว้ต่อกรมสรรพากร

เพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่

72)ฯ ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 บริษัทฯ ไม่ต้องแจ้งให้กรมสรรพากรทราบ เกี่ยวกับการขาย

เรือดังกล่าวแต่ประการใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/4131 ลงวันที่ 02 พฤษภาคม 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)