ขนส่งระหว่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบข้อเท็จจริงสมาคม จ. แจ้งว่า กรณีรายได้จากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยผู้ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 สมาคมฯ จึงขอทราบว่า รายได้จากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยผู้ประกอบกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 67(2) แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 66 วรรคสอง มาตรา 67(2) และมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยนิยามของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามความในมาตรา 4 แห่งพระราช บัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 หมายความว่า การรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สอง รูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยการรับขนของจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง หลายรูปแบบได้รับมอบของในประเทศหนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนด ให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง การดำเนินการ รับหรือส่งมอบของตามที่ระบุไว้ในสัญญาขนส่งรูปแบบเดียว ไม่ถือเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จากนิยามดังกล่าว กล่าวถึง เฉพาะรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งรูปแบบของการขนส่งได้แก่ การขนส่งทางรถยนต์และเรือ หรือเครื่องบิน เป็นต้น ดังนั้น หากเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กระทำกิจกรรมขนส่งสินค้าผ่านประเทศต่างๆ โดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปภายใต้สัญญาขนส่ง ต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว และขนส่งจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้รับมอบของในประเทศหนึ่ง ไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง รายได้จากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยผู้ประกอบ กิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร กระทำกิจกรรมขนส่งสินค้าผ่านประเทศต่างๆ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่า ในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการ รับขนของออกนอกประเทศไทยนั้นตามมาตรา 67(2) แห่งประมวลรัษฎากร และหากเป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดย อากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ย่อมเข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดย อากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ในการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4938 ลงวันที่ 07 มิถุนายน 2549 |