Skip to Content

ขนส่งระหว่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้าขาเข้า

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้าขาเข้า


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ หารือกรมสรรพากรกรณีการจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้าขาเข้า ดังนี้

1. กรณีผู้ใช้บริการจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับสายการบินต่างประเทศหรือ

สายการเดินเรือต่างประเทศ ซึ่งสายการบินหรือสารการเดินเรือดังกล่าวจะออกใบเสร็จรับเงิน 2 ฉบับ

เป็นค่าระวาง (Freight) จำนวน 1 ฉบับ และอีก 1 ฉบับเป็นค่าภาระอื่น ๆ เช่น Terminal

Handling Charge (ค่าภาระขนส่ง) Document Fee (ค่าเอกสาร) Stripping Charges (ค่า

เปิดตู้) และ Status (ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ) ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

หรือไม่

2. กรณีกรมสรรพากรตอบข้อหารือสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)

มีสาระสำคัญว่า กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวาง (Freight) หรือ

ผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับ Forwarder A โดย Forwarder A

กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ และได้ออกใบเสร็จรับเงินในนามของ

ผู้ใช้บริการ ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา

ร้อยละ 3.0 ของค่าบริการที่ Forwarder A ได้รับจากการดำเนินการแทนนั้น (Handling Charge)

กรณีดังกล่าว ในทางปฏิบัติสามารถสังเกตได้อย่างไรว่า Forwarder A กระทำการในฐานะเป็นตัวแทน

ของ Forwarder ในต่างประเทศ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 67, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.55/2538ฯ

แนววินิจฉัย

1. ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ

ต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล

สายการบินต่างประเทศและสายการเดินเรือต่างประเทศจะต้องนำค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และ

ประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออก

นอกประเทศไทยมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้คำนวณจากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับ

หรือพึงได้รับสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในแอร์เวย์บิลในกรณีรับขนสินค้าโดย

อากาศยาน หรือสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขนสินค้าโดย

เรือเดินทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการ

ให้บริการรับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินนั้นหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมดหรือให้

ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 ของ

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 55/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการ

ให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ดังนั้น หาก

สายการบินต่างประเทศหรือสายการเดินเรือต่างประเทศให้บริการขนของเข้ามาในประเทศไทย มูลค่า

ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการ

ให้บริการรับขนสินค้าขาเข้า ตามที่ระบุไว้ใน แอร์เวย์บิลหรือบิลออฟเลดิง จึงไม่เป็นฐานภาษีในการเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงไม่มีหน้าที่ต้อง

หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

2. กรณีผู้ใช้บริการจ่ายค่าระวาง (Freight) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการ ขนส่ง

สินค้าขาเข้าให้กับ Forwarder ในประเทศไทย ซึ่งการกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder

ในต่างประเทศ ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในส่วนที่กระทำการ

แทนนั้น ในทางปฏิบัติ Forwarder ในประเทศไทยต้องมีหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดที่มีเนื้อหาแสดงว่า

กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/10137 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)