Skip to Content

กิจการร่วมค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการดำเนินกิจการที่เข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้า

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการดำเนินกิจการที่เข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้า


ข้อเท็จจริง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. รับจ้างธนาคารออมสินทำการก่อสร้างสำนักงานธนาคารจังหวัด

นครศรีธรรมราช แต่ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้งานก่อสร้างล่าช้า ห้างฯ จึงขอขยายเวลาและเพิ่ม

คู่สัญญาคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้รับจ้างร่วมตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือ

ผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง และผู้ประกอบอาชีพงานอื่น ของคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ช่วยเหลือ

ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุง

ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา สำนักงบประมาณ ซึ่งธนาคารออมสินได้อนุมัติตามความประสงค์ห้างฯ และ

ผู้รับจ้างร่วม ได้ร่วมทำการก่อสร้าง โดยห้างฯ เป็นผู้ประกอบการก่อสร้าง และผู้รับจ้างร่วมได้สนับสนุน

เงินลงทุนในแต่ละงวดงาน ห้างฯ ตกลงให้ผู้รับจ้างร่วมเป็นผู้รับเงินค่าจ้างแต่เพียงผู้เดียว โดยห้างฯ

เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีมอบให้ธนาคารออมสินประกอบการเบิกเงินค่าก่อสร้างในแต่ละงวดต่อมาห้างฯ ได้

รับแจ้งจากธนาคารออมสินว่าไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างร่วมได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีและชื่อ

ผู้รับเงินไม่ตรงกัน ห้างฯ ได้หารือว่า การที่ห้างฯ ใช้ใบกำกับภาษีของห้างฯ ในการเบิกจ่ายค่าก่อสร้าง

โดยหนังสือสัญญาก่อสร้างกำหนดให้จ่ายเงินค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างร่วมซึ่งเข้ามาร่วมทุนเพื่อสนับสนุน

สภาพคล่องทางการเงินได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 39, มาตรา 82/4, มาตรา 86

แนววินิจฉัย

1. กรณีห้างฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้รับจ้างร่วมตกลงกันให้ห้างฯ เป็นผู้ประกอบการ

ก่อสร้าง โดยผู้รับจ้างร่วมเป็นผู้สนับสนุนเงินลงทุนในแต่ละงวดงาน และผู้รับจ้างร่วมยอมผูกพันตนอย่าง

ลูกหนี้ร่วมทุกประการสัญญาดังกล่าวไม่มีการแบ่งแยกงานและค่าตอบแทนที่ชัดเจนแต่อย่างใด จึงเข้า

ลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าและมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่ง

ประมวลรัษฎากร

2. ห้างฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้รับจ้างร่วม ในฐานะกิจการร่วมค้า มีหน้าที่ยื่นคำขอ

มีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5)

ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 66 แห่ง

ประมวลรัษฎากร

3. สัญญารับจ้างก่อสร้างดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นบริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ห้างฯ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้รับจ้างร่วม ในฐานะกิจการร่วมค้า จึงมีหน้าที่ต้อง

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(5) มาตรา 82 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร

และมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีในนามของกิจการร่วมค้าเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธนาคารออมสิน

ตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีห้างฯ ออกใบกำกับภาษีในนามของห้าง

จึงไม่ถูกต้อง




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/6199 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)