การให้ส่วนลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้ส่วนลดที่ให้แก่ลูกค้าเมื่อได้ใช้บริการ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้ส่วนลดที่ให้แก่ลูกค้าเมื่อได้ใช้บริการข้อเท็จจริงบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการบรรจุและแยกสินค้ากล่อง รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่อง กับการประกอบการดังกล่าว สรุปข้อเท็จจริงได้ว่า บริษัทฯ ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสาย การเดินเรือ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าทั่วไป บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจให้แก่ลูกค้า โดย หากลูกค้ารายใดใช้บริการของบริษัทฯ ทั้งปีครบ 180,000 Teus บริษัทฯ จะให้ส่วนลดเป็น เงินสดแก่ลูกค้าจำนวน 20 บาทต่อ 1 Teu ซึ่งส่วนลดในลักษณะดังกล่าวนี้ จะคำนวณให้แก่ ลูกค้าที่ใช้บริการตามเป้าที่กำหนดเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทฯ และจะจ่ายส่วนลด ให้แก่ลูกค้าในเดือนเมษายนของปีถัดไป บริษัทฯ ขอทราบว่า 1. บริษัทฯ มีสิทธินำส่วนลดที่ให้กับลูกค้า มาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทฯ และบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายส่วนลดดังกล่าวหรือไม่ 2. ลูกค้าของบริษัทฯ ซึ่งได้รับส่วนลดดังกล่าว จะต้องนำมาถือเป็นรายได้จาก การประกอบกิจการหรือรายได้อื่นหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (13) มาตรา 65 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. ภาระภาษีของบริษัทฯ กรณีบริษัทฯ ให้ส่วนลดเป็นเงินสดแก่ลูกค้าเป็นการทั่วไป เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ส่วนลดดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำส่วนลดดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร และหากบริษัทฯ จ่ายส่วนลดให้แก่ผู้ประกอบการที่นำ บริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขาย ต่อ บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด 2. ภาระภาษีของลูกค้า กรณีที่ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับ ส่วนลดเงินสด ลูกค้าต้องนำส่วนลดที่ได้รับมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และโดยที่ส่วนลดดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นมูลค่าจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ลูกค้าจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มจากส่วนลดที่ได้รับ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5276 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2551 |