การให้บริการ/เข่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินประกันการเช่าอาคาร เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินประกันการเช่าอาคาร เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ข้อเท็จจริงบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินกิจการให้เช่าอาคารพักอาศัย โดยได้แบ่งสัญญาเช่าเป็น 2 ชุด คือ - สัญญาเช่าห้องพัก ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ - สัญญาเช่าเครื่องเรือน เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ และบริการ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ และบริการ บริษัทฯ ถือปฏิบัติดังนี้ 1. เรียกเก็บเงินประกันการเช่าจากผู้เช่า ซึ่งเป็นเงินประกันการเช่าทรัพย์สินและ เงินประกันการใช้โทรศัพท์ โดยได้ระบุไว้ในสัญญาว่า "ผู้เช่าให้สัญญาว่า ในวันที่ทำสัญญาฉบับนี้ จะ ชำระเงินประกันการเช่าจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ให้เช่าโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อเป็นการประกัน การปฏิบัติหน้าที่ของผู้เช่าตามสัญญา หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เงินประกันดังกล่าว ผู้ให้เช่าจะยึดถือ ไว้ตลอดระยะเวลาการเช่า และไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะไม่ถือว่าเป็นการชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนล่วงหน้า ผู้ให้เช่าจะคืนให้แก่ผู้เช่าหลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยสามารถหักค่าเสียหาย สำหรับความสูญเสียหรือ เสียหายที่เกิดขึ้นแก่ห้องพัก รวมทั้งค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หนี้สินอื่น ๆ และค่าธรรมเนียมรายเดือน ซึ่ง ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบทั้งต่อผู้ให้เช่า หรือซึ่งเกี่ยวข้องกับที่ผู้ให้เช่าจะต้องรับผิดชอบ หรือความเสียหาย จากการที่ผู้เช่าผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ ทั้งนี้ โดยไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิที่จะเรียกร้อง เงินเพิ่มตามสัญญานี้ และ/หรือ ค่าทดแทนความเสียหายใด ๆ ที่มีสิทธิจะเรียกได้ตามกฎหมาย" โดยทาง บริษัทฯ จะลงบัญชีเมื่อรับเงินประกันการเช่าทั้งจำนวน ดังนี้ Dr. ธนาคาร Cr. เจ้าหนี้-เงินมัดจำค่าเช่า Cr. เจ้าหนี้-เงินมัดจำโทรศัพท์ 2. เรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้า เฉพาะเดือนที่อยู่เป็นรายเดือน ดังนี้ 2.1 ถ้าผู้เช่าเป็นนิติบุคคล ก็จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามหลักเกณฑ์ 2.2 ถ้าผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ให้เช่าจะไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย หมายเหตุ ภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นภาษีขายในเดือนที่รับชำระเงินนั้น ๆ 3. ในบางกรณี ผู้เช่าที่เป็นสถานทูตจะชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าทั้งจำนวนให้ก่อน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยขอส่วนลดค่าเช่าเป็นกรณีพิเศษ 3.1 วันที่รับค่าเช่าล่วงหน้าทั้งจำนวน บริษัทฯ นำมาลงบัญชีเป็นรายได้รับล่วงหน้า หมายเหตุ ภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นภาษีขายทั้งจำนวนในเดือนที่รับชำระเงินนั้น 3.2 จะปรับปรุงเป็นรายได้แต่ละเดือน โดยลงบัญชีประจำเดือนนั้น ๆ จนกว่าจะครบ กำหนด 4. เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า จะแบ่งการปฏิบัติออกเป็นหลายกรณี 4.1 ทางบริษัทฯ จะต้องชำระเงินประกันคืนให้แก่ผู้เช่าทั้งจำนวน โดยเฉพาะผู้เช่าที่ เป็นบริษัท เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หรือค่าเสียหายต่าง ๆ ผู้พักอาศัย จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จึงต้องชำระคืนให้แก่บริษัททั้งจำนวน และลงบัญชีเพื่อล้างบัญชีเจ้าหนี้เงินมัดจำ ออก 4.2 ในบางกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งผู้เช่าให้หักจากเงินประกัน ส่วนที่เหลือ จากการหักค่าเสียหาย ก็คืนให้แก่ผู้เช่า ซึ่งทางบริษัทฯ ก็ลงบัญชีเพื่อล้างบัญชีเจ้าหนี้เงินมัดจำออกและรับ ค่าซ่อมแซมเป็นรายได้ มีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และถือภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีขายประจำเดือนที่ ชำระคืนเงินประกัน 4.3 ในบางกรณีผู้พักอาศัย ก็ขอให้หักค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของ เดือนสุดท้าย ที่ผู้พักอาศัยได้ใช้ก่อนที่จะย้ายกลับประเทศกับเงินประกัน ส่วนที่เหลือก็คืนให้แก่ผู้เช่า ซึ่ง ทางบริษัทฯ ก็ลงบัญชี เพื่อล้างเจ้าหนี้เงินมัดจำออก และรับค่าบริการเป็นรายได้ มีการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และถือภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีขายประจำเดือนที่ชำระคืนเงินประกัน หมายเหตุ โดยปกติแล้วจะไม่มีการตัดค่าเช่ารายเดือนจากเงินประกันเนื่องจากเป็น ข้อตกลงที่ผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าในเดือนที่จะเข้าพักอาศัยอยู่แล้ว บริษัทฯ จึงขอทราบว่าการปฏิบัติดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65, มาตรา 78/1(1), มาตรา 79, มาตรา 81(1)(ต), มาตรา 82/10, มาตราแนววินิจฉัย1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ต้องนำเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้โทรศัพท์ที่ เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อน เพื่อตอบแทนการให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการทั้ง จำนวนมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคมพ.ศ. 2541 เว้นแต่เงินประกันหรือ เงินมัดจำค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ (ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ (ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มี เงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้ (ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3-6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน และ (ง) สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ตามข้อ 3 (2) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว 2. กรณีตาม 2. และ 3. เงินค่าเช่าล่วงหน้าที่บริษัทฯ ได้รับต้องนำมารวมคำนวณเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว และผู้จ่ายค่าเช่า ล่วงหน้าที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0 ทุกครั้งที่มีการจ่ายตาม คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ตามข้อ 2 (2) (ก) แห่ง คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว 3. เงินรับล่วงหน้าและเงินประกันการเช่าสังหาริมทรัพย์และเงินประกันการใช้โทรศัพท์ หรือบริการอื่นบริษัทฯ จะต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษี ตาม มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในขณะได้รับ ชำระเงินดังกล่าว ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) (ข) แห่ง คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว สำหรับเงินรับล่วงหน้าและเงินประกันการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าเช่าได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร 4. กรณีตาม 4. เมื่อบริษัทฯ ชำระเงินประกันคืนให้แก่ผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้รับบริการอื่น ตามข้อตกลงหรือสัญญา ให้บริษัทฯ ดำเนินการดังนี้ (1) ในกรณีที่ได้มีการนำเงินประกันไปเสียภาษีเงินได้ตาม 1. แล้วให้บริษัทฯ นำ เงินประกันที่ได้คืนให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการ มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ ได้จ่ายคืนเงินประกัน ตามข้อ 2 (1) (ข) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว (2) ในกรณีที่ได้มีการนำเงินประกันไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม 3. แล้วให้บริษัทฯ ออก ใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้เช่าทรัพย์สินหรือผู้รับบริการอื่น ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2 (3) (ค) แห่งคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/13962 ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 |