Skip to Content

การให้บริการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจ่ายค่าขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือเดินสมุทร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจ่ายค่าขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือเดินสมุทร


ข้อเท็จจริง

สมาคม โรงงาน น้ำตาล ไทย สมาคม การค้า ผู้ผลิต น้ำตาล ไทย และ สมาคม การค้า อุตสาหกรรม

น้ำตาล หารือ วิธี ปฏิบัติ เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี การ จ่าย ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น

เรือเดินสมุทร ซึ่ง มี ข้อเท็จจริง ดังนี้

1. กรณี ตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 106/2544 ฯ ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2544

ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ เรียกเก็บเงิน ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตรา ร้อยละ

7.0 จาก บริษัท ผู้ส่งออก พร้อมทั้ง ออก ใบเสร็จรับเงิน และ ใบกำกับภาษี ใน นาม บริษัท ผู้ส่งออก เมื่อ บริษัท

ผู้ส่งออก ได้ จ่าย เงิน ค่า ขนถ่าย สินค้า รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ กับ ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ แล้ว ก็ จะ นำ

ใบกำกับภาษี ดังกล่าว ไป ถือ เป็น ภาษีซื้อ ใน ขณะ เดียวกัน บริษัท ผู้ส่งออก ก็ จะ เรียกเก็บเงิน ค่า ขนถ่าย สินค้า

ขึ้น เรือเดินสมุทร รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใน จำนวน ที่ เท่ากัน กับ ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ เรียกเก็บ ไป ยัง โรงงาน

น้ำตาลทราย พร้อมทั้ง ออก ใบเสร็จรับเงิน และ ใบกำกับภาษี ให้ แก่ โรงงาน น้ำตาลทราย โดย บริษัท ผู้ส่งออก

ถือ เป็น ภาษีขาย และ โรงงาน น้ำตาลทราย นำ ไป ถือ เป็น ภาษีซื้อ สมาคม ฯ หารือ ว่า การปฏิบัติ ดังกล่าว

ถูกต้อง หรือไม่

2. กรณี ตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544

เป็น ผล ทำให้ โรงงาน น้ำตาลทราย มี หน้าที่ ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อัตรา ร้อยละ 3.0 ใน กรณี ที่ โรงงาน

น้ำตาลทราย ชำระ ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ แก่ บริษัท ผู้ส่งออก แต่ เนื่องจาก

การ ส่งออก น้ำตาลทราย มี ลักษณะ เฉพาะ ตาม พระราชบัญญัติ อ้อย และ น้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และ บริษัท

ผู้ส่งออก เป็น ตัวแทน ของ โรงงาน น้ำตาลทราย ตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 97/2543 ฯ ลงวันที่ 15

มิถุนายน พ.ศ. 2543 เมื่อ บริษัท ผู้ส่งออก ชำระ ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ แก่

ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ และ หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใน อัตรา ร้อยละ 3.0 แล้ว บริษัท ผู้ส่งออก ก็ได้ นำ

ภาษี ส่ง กรมสรรพากร ดังนั้น โรงงาน น้ำตาลทราย จึง ไม่ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อีก สมาคม ฯ หารือ

ว่า ความเข้าใจ ของ สมาคม ฯ ถูกต้อง หรือไม่

3. พระราชบัญญัติ อ้อย และ น้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 กำหนด ให้ โรงงาน น้ำตาลทราย ต้อง

ดำเนินการ ส่งออก โดย ผ่าน ตัวแทน คือ บริษัท ผู้ส่งออก และ เพื่อ ส่งเสริม การ ส่งออก ธนาคารพาณิชย์ จะ

อนุญาต ให้ ผู้ส่งออก เท่านั้น ที่ สามารถ เข้า ทำ สัญญา และ รับ เงิน แพ็คกิ้ง เครดิต จาก ธนาคารพาณิชย์ ได้ ดังนั้น

บริษัท ผู้ส่งออก จึง ต้อง จัดทำ แพ็คกิ้ง เครดิต กับ ธนาคาร แทน โรงงาน น้ำตาลทราย โดย บริษัท ผู้ส่งออก จะ ออก

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ แก่ ธนาคารพาณิชย์ เพื่อ รับ เงิน แพ็คกิ้ง เครดิต แล้ว ส่ง เงิน ดังกล่าว ไป ยัง โรงงาน

น้ำตาลทราย ทั้งนี้ โรงงาน น้ำตาลทราย จะ ออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ บริษัท ผู้ส่งออก ไว้ เป็น หลักฐาน ด้วย

จำนวนเงิน เดียวกัน และ อัตรา ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียวกัน กับ ที่ ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บ การกระทำ ดังกล่าว

บริษัท ผู้ส่งออก ได้ กระทำ ตน ใน ฐานะ เป็น ตัวแทน ใน การ นำ ดอกเบี้ย จาก โรงงาน น้ำตาลทราย เพื่อ นำส่ง

ธนาคาร ซึ่ง สมาคม ฯ มี ความเห็น ว่า โรงงาน น้ำตาลทราย ไม่ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใน อัตรา

ร้อยละ 1.0 ของ ดอกเบี้ย ที่ บริษัท ผู้ส่งออก รับ จาก โรงงาน น้ำตาลทราย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/1 (10) , คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ

แนววินิจฉัย

1. กรณี โรงงาน น้ำตาลทราย ได้ ส่งออก น้ำตาลทราย โดย ผ่าน ตัวแทน ใน การ ส่งออก ทั้ง บริษัท อ้อย

และ น้ำตาล ไทย จำกัด หรือ บริษัท ส่งออก อื่น โดย ได้ รับ อนุญาต จาก คณะกรรมการ อ้อย และ น้ำตาลทราย

และ ได้ มี การปฏิบัติ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข เกี่ยวกับ การ อนุญาต ให้ ส่งออก น้ำตาลทราย ตาม

กฎหมาย ว่าด้วย อ้อย และ น้ำตาลทราย โดย ครบถ้วน ถือว่า โรงงาน น้ำตาลทราย เป็น ผู้ส่งออก ตาม มาตรา

77/1 (13) แห่ง ประมวลรัษฎากร ได้ รับ สิทธิ เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใน อัตรา ร้อยละ 0 ตาม มาตรา 80/1 (1)

แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับ ตัวแทน ใน การ ส่งออก ทั้ง บริษัท อ้อย และ น้ำตาล ไทย จำกัด หรือ บริษัท ผู้ส่งออก

อื่น ถือ เป็น ผู้ ให้บริการ และ ดำเนิน พิธีการ ส่งออก แทน โรงงาน น้ำตาลทราย ตาม มาตรา 77/1 (10) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ซึ่ง ตัวแทน ใน การ ส่งออก ดังกล่าว มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใน อัตรา ร้อยละ 7.0

ตาม มาตรา 80 แห่ง ประมวลรัษฎากร

2. กรณี ตัวแทน ส่งออก น้ำตาลทราย ได้ ดำเนินการ ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร และ ถูก

ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ เรียกเก็บเงิน ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร ใน อัตรา ร้อยละ 7.0 ตาม มาตรา

77/1 (10) มาตรา 82/4 แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบ กับ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 106/2544 ฯ

ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2544 การ จ่าย เงิน ดังกล่าว เป็น กรณี ตัวแทน ส่งออก จ่าย ค่า ขนถ่าย สินค้า ใน

นาม ของ โรงงาน น้ำตาลทราย ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ จึง ต้อง ออก ใบเสร็จรับเงิน และ ใบกำกับภาษี ใน นาม

ของ โรงงาน น้ำตาลทราย และ เมื่อ ตัวแทน ส่งออก เรียกเก็บเงิน คืน จาก โรงงาน น้ำตาลทราย ตัวแทน

ส่งออก ไม่มี หน้าที่ เรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ กรณี ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ ออกใบกำกับภาษี ใน นาม ของ

ตัวแทน ส่งออก นั้น ตัวแทน ส่งออก ไม่มี สิทธิ นำ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ใบกำกับภาษี ดังกล่าว ไป ถือ เป็น ภาษีซื้อ ต้อง

ห้าม ตาม มาตรา 82/5 (3) แห่ง ประมวลรัษฎากร

3. กรณี ตัวแทน ส่งออก น้ำตาลทราย ได้ จ่าย เงิน ค่า ขนถ่าย สินค้า ขึ้น เรือเดินสมุทร ใน นาม ของ

โรงงาน น้ำตาลทราย ให้ กับ ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ เข้า ลักษณะ เป็น การ จ่าย ค่าบริการ ซึ่ง เป็น

เงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40 (8) แห่ง ประมวลรัษฎากร ตัวแทน ส่งออก มี หน้าที่ ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ

ที่จ่าย ใน อัตรา ร้อยละ 3.0 ตาม ข้อ 12/1 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26

กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 104/2544 ฯ ลงวันที่ 15

กันยายน พ.ศ. 2544 และ ต้อง ออก หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ กับ ผู้ประกอบ กิจการ ท่าเรือ

โดย ใช้ แบบพิมพ์ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของ ตัวแทน ส่งออก และ ต้อง ระบุ ชื่อ ที่อยู่

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของ โรงงาน น้ำตาลทราย ด้วย เมื่อ โรงงาน น้ำตาลทราย จ่าย เงิน ค่า ขนถ่าย

สินค้า ดังกล่าว คืน ให้ กับ ตัวแทน ส่งออก โรงงาน น้ำตาลทราย ไม่มี หน้าที่ ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่

อย่างใด

4. กรณี ตัวแทน ส่งออก มี ความ ประสงค์ จะ ยื่น รายการ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย แทน โรงงาน

น้ำตาลทราย ก็ สามารถ กระทำ ได้ โดย ตัวแทน ส่งออก มี หน้าที่ ต้อง ยื่น รายการ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตาม

แบบ ภ.ง.ด.53 เป็น ราย ฉบับ แต่ละ ราย โรงงาน น้ำตาลทราย โดย ตัวแทน ส่งออก จะ ต้อง ระบุ ชื่อ ที่อยู่

และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของ โรงงาน น้ำตาลทราย ใน ช่อง " ผู้ มี หน้าที่ หัก ภาษี ณ ที่จ่าย " และ ระบุ

ชื่อ ตัวแทน ส่งออก ใน ช่อง " ผู้จ่าย เงิน " ซึ่ง กรมสรรพากร จะ ออก ใบเสร็จรับเงิน ใน นาม ของ โรงงาน

น้ำตาลทราย และ ตัวแทน ส่งออก ต้อง ส่ง สำเนา แบบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้ง ใบเสร็จรับเงิน ให้ แก่ โรงงาน

น้ำตาลทราย ด้วย

5. กรณี ตัวแทน ส่งออก จัดทำ แพ็คกิ้ง เครดิต กับ ธนาคาร แทน โรงงาน น้ำตาลทราย โดย ตัวแทน

ส่งออก จะ ออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ กับ ธนาคาร เพื่อ รับ เงิน แพ็คกิ้ง เครดิต แล้ว ส่ง เงิน ดังกล่าว ไป ยัง โรงงาน

น้ำตาลทราย ต่อมา โรงงาน น้ำตาลทราย จะ ออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ ตัวแทน ส่งออก ไว้ เป็น หลักฐาน ด้วย เงิน

จำนวน เดียวกัน และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียวกัน กับ ที่ ธนาคาร เรียกเก็บ กรณี ดังกล่าว ตัวแทน ส่งออก ได้ กระทำ

ตน ใน ฐานะ เป็น ตัวแทน ใน การ นำ ดอกเบี้ย จาก โรงงาน น้ำตาลทราย เพื่อ นำส่ง ธนาคาร แทน โรงงาน

น้ำตาลทราย ดังนั้น กรณี โรงงาน น้ำตาลทราย จ่าย ค่า ดอกเบี้ย ให้ กับ ตัวแทน ส่งออก เพื่อ จ่าย ให้ กับ ธนาคาร

โรงงาน น้ำตาลทราย จึง ไม่มี หน้าที่ ต้อง หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่ อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/9970 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)