Skip to Content

การให้บริการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าที่ปรึกษาทางการเงินให้กับธนาคารในต่างประเทศ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าที่ปรึกษาทางการเงินให้กับธนาคารในต่างประเทศ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

บริษัทฯ กู้เงินจากแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ หนึ่งในเงื่อนไขของทางผู้ให้กู้เงินจากต่างประเทศนั้น

ต้องการให้ทางบริษัทฯ มีประกันภัยความเสี่ยงทางด้านการเมือง (Political Risk

Insurance-PRI) ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินกับธนาคาร J

ประเทศญี่ปุ่น (ธนาคาร) โดยมีวัตถุประสงค์ให้ธนาคารให้คำแนะนำปรึกษาทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ

การจัดหาเงินกู้และการประกันความเสี่ยงทางด้านการเมืองดังกล่าวจาก MIT ทั้งนี้ ธนาคารมีขอบเขต

ของงาน ดังนี้

1. ตรวจทานเอกสารหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการและการให้คำแนะนำบริษัทฯ เกี่ยวกับ

วิธีการดำเนินการ ข้อกำหนดและเงื่อนไขเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินกู้จากผู้ให้กู้ และการประกันความเสี่ยง

PRI จาก MIT

2. จัดเตรียมเอกสารตลอดจนปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับ Informa tion Memorandum

และข้อตกลงทางการเงินเบื้องต้น (Financing Term Sheet) ในกรณีที่บริษัทฯ ร้องขอ

3. แนะนำการวางโครงสร้างเงินกู้ภายใต้การประกันความเสี่ยง PRI ของ MIT ซึ่งเงินกู้

ดังกล่าวจะจัดสรรโดยธนาคารหรือไม่ก็ได้ รวมถึงการแนะนำในส่วนที่เกี่ยวกับข้อตกลง เงื่อนไข การ

เจรจาต่อรอง การประสานงานกับฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบัญชีและที่ปรึกษาทางการเงินอื่นเพื่อก่อให้เกิดการ

ลงนามในสัญญาเงินกู้ และการประกันความเสี่ยง PRI จาก MIT

4. ดำเนินการในฐานะของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินในการเจรจาเรื่องข้อตกลงเบื้องต้น

และเงื่อนไขกับ MIT

เนื่องจากธนาคาร J เป็นบริษัทซึ่งจดทะเบียนภายใต้กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มีสำนักงาน

ตัวแทนอยู่ในประเทศไทยและดำเนินธุรกรรมวิเทศธนกิจ แต่มิได้มีการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน

โดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมิได้มีการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินผ่านสำนักงานตัวแทนใน

ไทยแต่อย่างใด

บริษัทฯ ได้ตกลงในการจ่ายชำระค่าธรรมเนียม โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Success Fee USD 100,000 ให้ธนาคาร J แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดก่อนระหว่าง

1) Condition Precedent สำหรับการขอเบิกเงินกู้ภายใต้ MITI Facility

หรือ

2) การเบิกเงินกู้ครั้งแรก

2. บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น (Out-of Pocket) อาทิ ค่าโทรศัพท์ ค่าโทรสาร

ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการถ่ายสำเนาเอกสาร ค่าเดินทางและค่าที่พักที่เกิดจากการร่วมการประชุมกับ

ทางบริษัทฯ โดยทางธนาคาร J จะเรียกคืนจากทางบริษัทฯ เป็นรายเดือน โดยใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่างๆ

ที่ทางธนาคาร J จ่ายไปนั้น บางฉบับมิได้ออกในนามบริษัทฯ บริษัทฯ จะต้องรับภาระภาษีจากค่าบริการ

ทั้งสองอย่างไร นั้น


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/2, มาตรา 83/6

แนววินิจฉัย

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินได้จากการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินทั้งในส่วนของ

Success Fee และค่าใช้จ่ายอื่น (Out-of Pocket) ของธนาคาร J โดยธนาคาร J มิได้เป็น

ผู้ให้กู้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ แต่เนื่องจากไม่ได้ให้บริการโดยผ่าน

สถานประกอบการถาวรในไทย ธนาคาร J จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย จาก

เงินได้ที่ได้รับดังกล่าวตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการ

เว้นการเก็บภาษีซ้อน และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินของธนาคาร J ใน ต่างประเทศ โดย

มีวัตถุประสงค์ให้คำแนะนำทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินกู้แก่บริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นการ

ให้บริการโดยผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้นำผลของบริการมาใช้ในราชอาณาจักร ตาม

มาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ในประเทศไทยผู้จ่ายค่าปรึกษาจึงมีหน้าที่ต้องนำส่ง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/4277 ลงวันที่ 04 พฤษภาคม 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)