Skip to Content

การให้บริการ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัญชีลูกหนี้ค่าบริการ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัญชีลูกหนี้ค่าบริการ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ได้รับจ้างก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียม 1 และ 2

ให้แก่ ผู้ว่าจ้างที่ 1 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 465,335,329.01 บาท และได้รับก่อสร้างคลับเฮาส์ให้แก่

ผู้ว่าจ้างที่ 2 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 617,103,329.01 บาท บริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างคอนโดมิเนียม

และคลับเฮาส์ดังกล่าวแล้วเสร็จและส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 แล้ว แต่ผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2

ยังคงค้างชำระหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าวเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 580,694,143.84 บาท ต่อมาเมื่อวันที่

8 ธันวาคม 2538 บริษัทฯ และผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมโดยจดทะเบียน

จำนองที่ดินเป็นประกัน ปรากฏว่า ผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมได้

บริษัทฯ จึงได้ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้ผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ชำระหนี้ที่ค้างชำระซึ่งประกอบด้วยค่าจ้างและ

ดอกเบี้ยกรณีผิดสัญญาประนีประนอม และเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 และวันที่ 3 ธันวาคม 2544

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ตามลำดับ บริษัทฯ จึงยื่นคำขอรับ

ชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอรับชำระ

หนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2546 บริษัทฯ ตกลงขายและโอนหนี

้ค่าบริการรับจ้างก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ยของผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล

ต่างประเทศ จำนวนเงินทั้งสิ้น 220,000,000 บาท บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1. กรณีผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ชำระหนี้ให้แก่บริษัท อ. ผู้รับโอนหนี้ บริษัทฯ จะต้องเรียกเก็บภาษี

มูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 หรือไม่ และผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 จะต้องหัก

ภาษี ณ ที่จ่ายพร้อมทั้งออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของบริษัทฯ หรือไม่

2. กรณีบริษัทฯ ขายและโอนหนี้ค่าบริการรับจ้างก่อสร้างของผู้ว่าจ้างที่ 1 และ 2 ให้แก่

บริษัท อ. ถือเป็นการโอนสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมูลหนี้ค่าก่อสร้าง (มูลหนี้เดิม) ที่ผู้ว่าจ้างที่ 1

และ 2 เป็นหนี้บริษัทฯ อยู่ ทั้งภาระหน้าที่และความรับผิดต่อภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรของ

บริษัทฯ ไม่สามารถโอนขาดให้แก่บริษัท อ. ผู้รับโอนได้ การโอนหนี้ดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็น

การขายหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่ต้องเรียก

เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัท อ. ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/2(1) มาตรา 78/1(1) มาตรา 82/4 มาตรา 86 มาตรา 105(1) และคำสั่ง

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่ง

ประมวลรัษฎากร โดยเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการเกิดขึ้นตามมาตรา

78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 วรรคหนึ่ง แห่ง

ประมวลรัษฎากร และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ ตกลงโอนสิทธิที่จะได้รับชำระเงินตามมูลหนี

ค่าก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างทั้งสองเป็นหนี้อยู่ให้แก่บริษัท อ. ซึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ทำให้

ความรับผิดตามประมวลรัษฎากรระหว่างบริษัทฯ และผู้ว่าจ้างทั้งสองเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ดังนั้น

เมื่อบริษัท อ. ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้รับชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างจากผู้ว่าจ้างทั้งสองแทนบริษัทฯ

บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105(1) แห่งประมวลรัษฎากร และออก

ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ว่าจ้างทั้งสอง โดยในขณะที่ผู้ว่าจ้าง

ทั้งสองจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่บริษัท อ. ผู้ว่าจ้างทั้งสองมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0

ของค่าจ้างที่จ่ายนั้นพร้อมทั้งออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับบริษัทฯ ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2)

ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวล

รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ โอนขายหนี้ค่าบริการก่อสร้างให้แก่บริษัท อ. เนื่องจากการโอนหนี้ตาม

ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิที่จะได้รับชำระเงินตามมูลหนี้ค่าบริการที่มีอยู่เดิม ไม่เข้าลักษณะ

เป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 77/1(8) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ใน

บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษี

มูลค่าเพิ่มจากการโอนขายหนี้ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี

และส่งมอบให้กับบริษัท อ. ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/1050 ลงวันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2549

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)