Skip to Content

การให้บริการ/ขนส่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับจ้างขนส่งทางเรือ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับจ้างขนส่งทางเรือ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งทางเรือโดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้

บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งทางเรือโดยมีท่าเทียบเรือเป็นของตนเองที่ ศรีราชาและ

สัตหีบ และในการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้ให้บริการรับขนพนักงานของบริษัทตัวแทนเรือต่างประเทศซึ่ง

เรือต่างประเทศบางครั้งอาจจะจอดในบริเวณอื่น ฉะนั้นหากเรือต่างประเทศจอดอยู่บริเวณแหลมฉบังหรือ

มาบตาพุต บริษัทฯ ต้องเช่าท่าหรือสถานที่ของหน่วยงานราชการเพื่อใช้เป็นที่จอดเรือในการรับส่ง

พนักงานของบริษัทตัวแทนเรือต่างประเทศ

บริษัทฯ รับจ้างบริษัทตัวแทนเรือต่างประเทศเพื่อรับส่งพนักงานของบริษัทตัวแทนเรือใน

การเดินทางไปติดต่อกับกัปตันเรือต่างประเทศที่จอดอยู่กลางทะเลบริเวณเกาะสีชัง แหลมฉบัง สัตหีบและ

มาบตาพุต โดยจะไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นโดยสารแต่อย่างใด ในการเข้ามาในราชอาณาจักรของเรือ

ต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายของประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือได้ให้บริษัทฯ

รับส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องไปปฏิบัติงานตามกฎหมายเกี่ยวกับการเข้ามาของเรือต่างประเทศนั้น เช่น

เจ้าหน้าที่นำร่อง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไปดำเนินพิธีการกับเรือต่างประเทศที่ตนเป็นตัวแทนอยู่

เดิมบริษัทฯ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต่อมาบริษัทฯ

ทราบว่าได้มีคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.106/2544 ฯ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ.2544) ฯ

บริษัทฯ จึงขอหารือว่า

1. การประกอบกิจการของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการของ

ผู้ประกอบกิจการท่าเรือและผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันกับ

กิจการท่าเรือที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 106/2544 ฯ หรือไม่ หากต้องเสีย

ภาษีมูลค่าเพิ่มบริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับบริษัทตัวแทนเรือหรือไม่

2. เมื่อบริษัทตัวแทนเรือจ่ายเงินได้แก่บริษัทฯ บริษัทฯ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 81(1)(ณ), มาตรา 77/2, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.106/2544 ฯ, กฎกระทรวง ฉบับที่

แนววินิจฉัย

1. การประกอบกิจการรับขนส่งผู้โดยสารทางเรือในราชอาณาจักรตามข้อเท็จจริง ดังกล่าว

เป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่ง

ประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการของกิจการท่าเรือและการให้บริการอื่นในลักษณะ

ทำนองเดียวกันกับกิจการท่าเรือที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

ประกอบกับ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.106/2544 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการของ

ผู้ประกอบกิจการท่าเรือและผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันกับ

กิจการท่าเรือ ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2544 ดังนั้น การประกอบกิจการรับขนส่ง ผู้โดยสารทางเรือ

ในราชอาณาจักรตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

2. การให้บริการรับขนส่งผู้โดยสารทางเรือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น "การ

ให้บริการ" ที่มิใช่บริการขนส่งสาธารณะ หากมีการจ่ายเงินได้ค่าบริการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 16

กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 2(13) ของ

กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ.2522)ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 229 (พ.ศ.2544)ฯ

ประกอบกับ ข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544

ดังนั้น บริษัทฯ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายเงินนั้นจะได้แบ่งจ่าย

ครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/8717 ลงวันที่ 06 กันยายน 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)