การโอนกิจการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติข้อเท็จจริงการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ บริษัท ป. กรณีขอให้กระทรวงการคลังให้ ความร่วมมือในการออกกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ มารองรับ เพื่อให้การแบ่งแยก กิจการและการโอนทรัพย์สินดังกล่าวได้รับยกเว้นภาระภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร อากรแสตมป์ ที่เกิดขึ้นจากการโอนและการรับโอน การเช่าและให้เช่า และหรือการทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ สินค้าคงเหลือ ที่ เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งที่จะเกิดขึ้นจากการโอนและ รับโอนโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติต่าง ๆ ตามแผนแม่บทท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2545 - 2553 ที่ บริษัท ป. จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ และจะโอนให้กับ บริษัท ต. ใน อนาคตเมื่อโครงการแล้วเสร็จต่อไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545แนววินิจฉัย1. ภาษีตามประมวลรัษฎากร 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณี บริษัท ป. จะโอนทรัพย์สินให้กับ บริษัท ต. หากการโอน และการรับโอนทรัพย์สินเป็นไปตามราคามูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอนแล้ว ไม่ ถือว่ามีกำไรจากการโอนทรัพย์สิน จึงไม่มีกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ กรณี บริษัท ป. จะโอนทรัพย์สินให้ กับ บริษัท ต. การโอนทรัพย์สินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการโอนกิจการบางส่วน ซึ่งย่อมได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545 2. ภาษีสรรพสามิต กรณี บริษัท ป. จะโอนทรัพย์สินให้กับ บริษัท ต. ไม่ก่อให้เกิด ความรับผิดในการเสียภาษีสรรพสามิตแต่อย่างใด 3. ภาษีศุลกากร กรณี บริษัท ป. จะโอนทรัพย์สินให้กับ บริษัท ต. มิได้ก่อให้เกิดภาระ ภาษีศุลกากรแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากมีภาระภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่เกิดจาก การแบ่งแยกกิจการและโอนทรัพย์สิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดให้ได้รับยกเว้นตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตรา ศุลกากร พ.ศ.2530 4. ในส่วนที่เกี่ยวกับกรมธนารักษ์ เนื่องจากกรมธนารักษ์ และ การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย ได้ตกลงทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเช่าหรือการใช้ที่ดิน อาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างในที่ราชพัสดุแล้ว โดยให้ถือว่า บริษัท ต. จะได้สิทธิและหรือรับโอนสิทธิการเช่า และหรือ การใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจาก บริษัท ป. โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนใด ๆ ให้แก่กรมธนารักษ์อีก ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/8621 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 |