การโอนกิจการบางส่วน ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนกิจการบางส่วน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนกิจการบางส่วนข้อเท็จจริง1. บริษัทฯ เป็นบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ประกอบ กิจการผลิต ส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วน PICK UP UNIT หรือหน่วยหัวอ่านแผ่นซีดี โดยบริษัทฯ มียอดขายส่งออกร้อยละร้อย บริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการด้วยการรับโอนกิจการบางส่วนจากบริษัท อ. (บริษัทฯ) (ชื่อเดิม บริษัท จ. บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อกิจการหรือ ทรัพย์สินทั้งหมดของสาขาที่ 1 ของบริษัท อ. โดยบริษัทฯ เริ่มประกอบการตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ส่วนบริษัท อ. ได้หยุด กิจการ ของสาขาที่ 1 และได้แจ้งลดสาขาในวันดังกล่าว แต่บริษัท อ. ยังคงประกอบกิจการและอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ได้นำส่ง แบบ ภ.พ.36 และแบบ ภ.ง.ด.54 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระหนี้ค่าลิขสิทธิ์และค่าเครื่องหมายการค้าค้าง จ่ายให้แก่ VICTOR COMPANY LTD., ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและประกอบกิจการขายสินค้าใน ประเทศญี่ปุ่น การชำระหนี้ดังกล่าวเกิด จากผลการรับโอนกิจการสาขาที่ 1 จากบริษัท อ. ซึ่งส่วนหนึ่งของการรับโอน บริษัทฯ ได้ซื้อรายการทางบัญชีหนี้สินหมุนเวียนอื่นที่มี รายการค่าลิขสิทธิ์และค่าเครื่องหมายการค้าค้างจ่ายรวมอยู่ด้วย จำนวน 129,326,572.77 บาท โดยค่าลิขสิทธิ์คำนวณตามอัตราส่วนร้อยละ 5 และค่าเครื่องหมายการค้าร้อยละ 3 ของยอดขาย สินค้าของบริษัท อ. ในแต่ละเดือนของปี 2550 ซึ่งต้องชำระให้แก่ VICTOR COMPANY LTD., ในปี 2550 มีกำหนดการจ่าย หนี้สินดังกล่าวในแต่ละเดือนชำระภายใน 45 วัน นับแต่สิ้นสุดไตรมาส (ทุก 3 เดือน จ่ายภายใน 45 วัน) ภายหลังจากการรับ โอนกิจการการชำระหนี้สินดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของบริษัทฯ 2. ต่อมา บริษัทฯ ได้รับการตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาก สำนักงานพื้นที่ (สท.) และได้แจ้งผลการตรวจว่า การที่ บริษัทฯ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.36 และถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี เมษายน 2551 เดือนภาษีกรกฎาคม 2551 เดือนภาษีสิงหาคม 2551เดือนภาษีกันยายน 2551 เดือนภาษีตุลาคม 2551 และเดือนภาษีพฤศจิกายน 2551 จากค่าลิขสิทธิ์ และค่าเครื่องหมายการค้าค้างจ่ายที่ได้รับภายหลังจากการรับโอนกิจการซึ่งคำนวณจากอัตราส่วนร้อยละ 5และร้อยละ 3 ของยอดขายในแต่ละเดือนของปี 2550 ที่เป็นของบริษัท อ. ทั้งหมด โดยบริษัท อ. ยังไม่มีการชำระหนี้จึงบันทึกเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย ค้างจ่ายไว้ และได้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาคำนวณกำไรสุทธิของบริษัท อ. ไปแล้วสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 ตลอดจน การจ่ายชำระค่าใช้จ่าย ดังกล่าวตามสัญญาได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ซึ่งบริษัท อ. จะต้องดำเนินการชำระให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมี การโอนกิจการ ไม่ใช่ภาระของ บริษัทฯ ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนดังกล่าว เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบ กิจการของบริษัทฯ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะนำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายไม่ได้ บริษัทฯ จึงต้องรับผิดในภาษีมูลค่า เพิ่มพร้อมเบี้ยปรับ แต่บริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับเจ้าพนักงานประเมิน (เจ้าพนักงานฯ) โดยเห็นว่า เมื่อบริษัทฯ ได้รับโอนกิจการทั้งหมดของ สาขาที่ 1 ของบริษัท อ. บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ชำระหนี้และ ยื่นแบบนำส่งภาษี ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 ส่วนกรณีที่บริษัท อ. ชำระค่าลิขสิทธิ์และ ค่าเครื่องหมายการค้าล่าช้า เนื่องจาก บริษัท อ. ประสบปัญหาเงินทุนขาดสภาพคล่องตัว จึงได้เจรจาขอชะลอชำระหนี้ และได้บันทึกเป็นค่า ใช้จ่ายค้างจ่ายไว้จนถึง วันที่โอนกิจการ ขณะนี้บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงและชำระภาษีตามผลการตรวจของเจ้าพนักงานฯ แล้ว บริษัทฯ จึงขอ ทราบว่า 1. ภาษีซื้อที่เกิดจากการชำระค่าลิขสิทธิ์และค่าเครื่องหมาย การค้าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่ 2. กรณีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ใครเป็นผู้ มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 3. หากภาษีซื้อที่เกิดจากการชำระค่าลิขสิทธิ์และค่าเครื่อง หมายการค้าเป็นภาษีซื้อต้องห้าม บริษัทฯ จะต้องดำเนินการ อย่างไร และจะมีสิทธิขอคืนได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีที่บริษัทฯ ได้รับการตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาก สท. และ สท. ได้มีหนังสือแจ้งผลการตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่บริษัทฯ แล้ว หากบริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจของเจ้าพนักงานฯ บริษัทฯ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ โดยบริษัทฯ ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการตรวจตาม มาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5975 ลงวันที่ 09 สิงหาคม 2553 |