Skip to Content

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบังคับใช้ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบังคับใช้ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน


ข้อเท็จจริง

ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา

40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไข

เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.106/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา

40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลใช้

บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ได้มีการกำหนดให้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับ

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคา

จำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและ

จำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ทำให้มีผลกระทบต่อการค้าตราสารหนี้โดยเฉพาะการค้า

ตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน Bill of Exchange (B/E) สมาคมฯ จึงขอให้พิจารณากำหนดให้ใช้

กฎหมายดังกล่าวกับตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวที่มีการออกตั้งแต่วันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตราสารที่ 9 แห่งบัญชีอากรแสตมป์

แนววินิจฉัย

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่อยู่ในบังคับต้องถูกหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะต้องหักทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินโดยไม่คำนึงว่าสัญญาที่ก่อให้เกิด

เงินได้พึงประเมินดังกล่าวมีการทำตั้งแต่เมื่อใด ดังนั้น จึงไม่อาจพิจารณาให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สำหรับส่วนลดอันเกิดจากการซื้อตั๋วเงินตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ตามที่สมาคมฯ ร้องขอได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/5495 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)