การหักภาษี ณ ที่จ่ายของรัฐบาล ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษา
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาข้อเท็จจริง1. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 จำเลย (องค์การของรัฐบาล) ได้ทำสัญญาว่าจ้าง โจทก์ก่อสร้างอาคารที่ทำการ และอาคารจอดรถยนต์ ในราคาค่าจ้างเป็นเงิน 170,000,000 บาท โดยตกลงชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานเป็นงวด ๆ รวม 18 งวด คู่สัญญาตกลงให้นำสัญญาแบบปรับ ราคาได้ (ค่าเค) มาใช้กับสัญญาจ้างนี้ด้วย โจทก์จะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2535 ต่อมาจำเลยได้ต่ออายุสัญญาจ้างฯ ให้โจทก์ต่อไปอีก 180 วันเป็นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 เมษายน 2536 2. ต่อมาในระหว่างอายุสัญญาจ้างฯ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ออกใช้บังคับ โดยยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน ซึ่งมีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป และมีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 ให้ สิทธิผู้ประกอบการฯ ที่จะเลือกเสียภาษีการค้า หรือภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลย ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยไม่ชำระโจทก์จึงต้องนำเงินของโจทก์ชำระเป็นภาษีขายนำส่ง กรมสรรพากรแทนจำเลย พร้อมการยื่นแบบ ภ.พ.30 ของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อ ศาลภาษีอากรกลางให้บังคับจำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของเงินค่าจ้าง และค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค) ของงวดที่ถึงกำหนดชำระหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 รวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดสัญญาตาม จำนวนที่กำหนดในคำฟ้อง 3. ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาแล้ว โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ต่อมามี คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2960/2540 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2540 พิพากษาให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 3,767,702.52 บาทแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รับ ชำระเงินค่าจ้างในแต่ละงวด จนกว่าจำเลยจะชำระแล้วเสร็จ เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับ งานงวดที่ 8 ถึง 12 และค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)ของงานงวดที่ 3 และ 7 ถึง 11 ให้นับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ 4. จากคำพิพากษาศาลฎีกา ตาม 3. จำเลย จะต้องจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างที่ ค้างจ่ายตามสัญญาและของค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค) ที่ค้างจ่าย รวมเป็นเงิน 3,767,702.52 บาท และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผิดนัดชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างและของค่าเค ภายในเวลาที่ สัญญากำหนด ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เป็นเงิน 1,286,994.74 บาท รวมเป็นเงินที่ต้องชำระ ทั้งสิ้น 5,054,697.26 บาท ขอทราบว่า มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่ต้องจ่ายให้บริษัทฯหรือไม่ ใน อัตราร้อยละเท่าใด กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 69 ทวิแนววินิจฉัยเงินที่จำเลย ต้องจ่ายให้บริษัทฯ ตามคำบังคับของคำพิพากษาฎีกาที่ 2960/2540 รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 5,054,697.26 บาท จำเลย มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง และของค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค) ที่ จำเลย จ่ายให้บริษัทฯถือเป็นภาษีขายซึ่งบริษัทฯ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้ รับ และเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิใช่ภาษี ตามมาตรา 82/16 ซึ่งได้รับคืน เนื่องจากการขอคืนตามหมวด 4 บริษัทฯ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิของผู้ประกอบการฯ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ(14) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อจำเลย จ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีดังกล่าวเป็นเงิน 3,767,702.52 บาท ให้บริษัทฯ จำเลย จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร 2. ดอกเบี้ยที่จำเลย ต้องจ่ายให้บริษัทฯ เนื่องจากจำเลย ผิดนัดชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ของค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างและของค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค) ภายในเวลาที่สัญญากำหนดเป็นเงิน 1,286,994.74 บาท เข้าลักษณะเป็นรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชี ต้องนำมาเสียภาษีจากกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อจำเลย จ่ายเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้บริษัทฯ จำเลย มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/11483 ลงวันที่ 08 พฤศจิกายน 2542 |