Skip to Content

การหักภาษี ณ ที่จ่ายของรัฐบาล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซื้อสินค้าและบริการ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซื้อสินค้าและบริการ


ข้อเท็จจริง

สำนักงานฯ หารือว่า เนื่องจากสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้จ่ายเงินยืมทดรอง

และเงินยืมหมุนเวียนให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลอื่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นธุรกิจในการดำเนินงานของ

สำนักงานฯ ไปก่อนและนำใบเสร็จรับเงินระบุชื่อสำนักงานฯ มาผลักใช้เงินยืมในภายหลัง โดยมี

ค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

1. ค่าเช่าสถานที่จัดเลี้ยง ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าบริการของโรงแรม ภัตตาคาร ค่าเช่า

ที่พัก (โรงแรมหรือรีสอร์ต)

2. ค่าโดยสารสำหรับขนส่งสาธารณะ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าเช่ารถ

3. ค่าซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้า ค่าซื้ออุปกรณ์การกีฬาสำนักงานฯ ขอทราบว่า ค่าใช้จ่าย

ดังกล่าวข้างต้น สำนักงานฯ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่

ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าโรงแรมบางแห่ง

แจ้งว่าไม่เคยถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากผู้จ่ายเงินได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 69 ทวิ

แนววินิจฉัย

สำนักงานฯ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.

2517 เข้าลักษณะเป็นองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสำนักงานฯ ได้จ่าย

เงินยืมทดรองและเงินยืมหมุนเวียนให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลอื่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดย

ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีที่นำมาเบิกเงินคืนได้ระบุชื่อสำนักงานฯ เป็นผู้จ่ายเงิน สำนักงานฯ จึงมี

หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และ

อัตราภาษีที่กำหนดตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/1468 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)