การหักภาษี ณ ที่จ่ยของรัฐบาล ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีวิทยาลัยจำหน่ายนมปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่ง
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีวิทยาลัยจำหน่ายนมปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งข้อเท็จจริง1. วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี จำหน่ายนมชนิดปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งให้กับ ส่วนราชการ และนำเงินจากการจำหน่ายไปเป็นค่าบำรุงการศึกษา วิทยาลัยฯ จะต้องเสียภาษีหรือหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนราชการผู้ซื้อนำส่งหรือไม่ 2. วิทยาลัยฯ จ่ายค่าขนส่งนมให้กับผู้รับจ้างขนส่งในอัตราถุงละ 1 บาท ใน 1 สัปดาห์ ขนส่ง 2-3 ครั้ง ๆ ละ 1,000 - 1,500 ถุง จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีค่าขนส่งนมให้กับ ผู้รับจ้างขนส่งไม่ถึง 10,000 บาท ต่อการขนส่งแต่ละครั้งหรือไม่ 3. พ่อค้าคนกลางรับซื้อนมจากวิทยาลัยฯ ไปจำหน่ายให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน ประถมศึกษาหรือส่วนราชการอื่นโดยการจ่ายเงินแต่ละครั้งไม่เกิน 10,000 บาท แต่เป็นการจ่ายประจำ เดือนตลอดเดือนและจ่ายเป็นงวด โรงเรียนจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งหรือไม่ 4. โรงเรียนแต่ละแห่งที่รับซื้อนมในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้และนำส่งภาษีอากร จะ ต้องขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 39, มาตรา 69 ทวิแนววินิจฉัย1. วิทยาลัยฯ จำหน่ายนมปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งให้กับส่วนราชการอื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้เพราะเป็นส่วนราชการไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามนัยมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณีวิทยาลัยฯ มีรายรับจากการจำหน่ายนมชนิดปรุงแต่งด้วยรสต่าง ๆ ตามข้อเท็จจริงเข้า ลักษณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากรและมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ (1) กรณีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร (2) กรณีมีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 600,000 บาทแต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร (3) กรณีมีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,200,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 7.0 โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร (4) กรณีมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 600,000 บาทต่อปีตาม (1) หรือมีมูลค่าของ ฐานภาษีเกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปีตาม (2) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธิ แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยคำนวณจาก ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ทั้งนี้ ตามมาตรา 81/3 (2) และมาตรา 82/17 แห่งประมวลรัษฎากร อนึ่งสำหรับ (3) และ (4) นั้น นับแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 10.0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 2. กรณีวิทยาลัยฯ จ่ายค่าขนส่งให้กับผู้รับจ้างที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม สัญญาจ้างหรือตามข้อตกลงไม่ถึง 10,000 บาท วิทยาลัยฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งแต่ อย่างใด แต่หากจ่ายเงินให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามนัยมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซื้อนมจากวิทยาลัยฯ ไป จำหน่ายให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาหรือส่วนราชการอื่นหากสัญญาซื้อขายหรือข้อตกลง ในการซื้อขายมีจำนวนเงินที่จ่ายตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายเงินจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาทโรงเรียนหรือส่วนราชการผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้อัตราร้อยละ 1 ของ ยอดเงินได้ที่จ่าย ทั้งนี้ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร หากกรณีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โรงเรียนหรือส่วนราชการ ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ในอัตราร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตามมาตรา 69 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร 4. กรณีโรงเรียนซื้อนมและได้จ่ายเงินได้ให้กับผู้จ่าย โรงเรียนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมี หน้าที่หักภาษีณ ที่จ่าย ไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัว แต่กรมสรรพากรจะเป็น ผู้กำหนดเลขประจำตัวและแจ้งให้โรงเรียนทราบและถือปฏิบัติต่อไป ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/1041 ลงวันที่ 03 มิถุนายน 2541 |