การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาข้อเท็จจริงมาตรา 4 อัฏฐ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรเพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง มีสิทธิหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วน ที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 บริษัทฯ ขอทราบว่า 1. พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป ใช่หรือไม่ 2. การซื้อหรือได้มาซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรหมายความรวมถึงการซื้อด้วยวิธีการทำสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนไปยังผู้เช่าซื้อ ใช่หรือไม่ 3. การซื้อหรือการได้มาตามวิธีการทำสัญญาเช่าซื้อตามข้อ 2 เมื่อนำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน คำว่า "มูลค่าต้นทุน" หมายถึงราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ ใช่หรือไม่ 4. การซื้อหรือได้มาซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรจากต่างประเทศโดยวิธีการซื้อผ่อนชำระหรือกู้ยืมเงินจาก สถาบันการเงิน หรือการขอกู้ยืมเงินจากธนาคาร บริษัทฯ สามารถนำมูลค่าต้นทุนที่ได้มาและต้นทุนอื่นๆ ที่จะทำให้เครื่องจักร และอุปกรณ์ของเครื่องจักรอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 4 อัฏฐ แห่งพระราช- กฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ใช่หรือไม่ 5. คำว่า "มูลค่าต้นทุนทรัพย์สินรวมกันไม่เกินห้าแสนบาท" ตามมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว หมายถึงมูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหนึ่งรายการหรือมากกว่าหนึ่งรายการ ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าแสนบาท สามารถนำไปหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละหนึ่งร้อย ส่วนมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่มีมูลค่ารวมกันเกินกว่าห้าแสนบาท สามารถนำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินเฉพาะมูลค่าต้นทุนห้าแสนบาทในอัตราร้อยละหนึ่งร้อย และส่วนที่ เกินกว่าห้าแสนบาทให้นำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามเงื่อนไข และอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 (5) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ใช่หรือไม่ 6. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภททรัพย์สินอย่างอื่น ตามมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ไม่รวมทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องบันทึกการเก็บเงิน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร ตามมาตรา 4 ทวิ มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา และมาตรา 4 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ใช่หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ.2551แนววินิจฉัย1. กรณีตาม 1. พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป 2. กรณีตาม 2. และ 3. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร ตามมาตรา 4 อัฏฐ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องได้ทรัพย์สิน นั้นจากการซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยไม่รวมถึงการเช่าซื้อ 3. กรณีตาม 4. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่จะนำมาหักค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคา ได้แก่ ราคาทรัพย์สินที่ซื้อมารวมค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ที่จะต้อง จ่ายในระหว่างซื้อทรัพย์สินจนกระทั่งทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้หรือใช้ประโยชน์ได้ตามประสงค์ 4. กรณีตาม 5. ตามมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 "มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินซึ่งรวมกัน ไม่เกินห้าแสนบาท" หมายความว่า มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งมีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าแสน บาทเท่านั้น ที่มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สิน และการหักค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคาดังกล่าว ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 กรณีทรัพย์สิน หลายรายการเมื่อนำมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินเหล่านั้นมารวมกันแล้วทำให้มีมูลค่าเกินห้าแสนบาท เฉพาะทรัพย์สินรายการที่ได้นำ ไปรวมแล้วทำให้มีมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินทุกรายการรวมกันเกินห้าแสนบาทเท่านั้น ที่ไม่อาจนำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยได้ หรือกรณีทรัพย์สินรายการเดียวแต่มีมูลค่าต้นทุนเกินห้าแสนบาท ทรัพย์สินรายการนั้นก็ไม่อาจนำไปหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยได้ แต่ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นมีสิทธินำไปหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตาม มาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 5. กรณีตาม 6. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เครื่องบันทึกการเก็บเงิน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ของเครื่องจักร หากไม่ได้ใช้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 4 ทวิ มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา และมาตรา 4 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ย่อมมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยได้หากเข้าหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/1588 ลงวันที่ 02 มีนาคม 2552 |