การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ข้อเท็จจริงบริษัท A ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ ระยะเวลาการเช่าขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างบริษัทฯกับลูกค้า บริษัทฯ ขอทราบว่า กรณีบริษัทฯได้ซื้อรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนหรือรถยนต์นั่ง ราคา 1,480,743 บาทบริษัทฯ จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนหรือรถยนต์นั่ง ให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยหักตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้น โดยให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท กรณีบริษัทฯ หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา โดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่างอายุการใช้ทรัพย์สิน บริษัทฯ จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีนั้นในบางปีเกินอัตราร้อยละ 20 ก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วย 20 ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค. 0706/6627 ลงวันที่ 06 กรกฎาคม 2550 |