Skip to Content

การหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรถยนต์นั่ง

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรถยนต์นั่ง


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้ซื้อรถยนต์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2539 ในราคา 5,000,000 บาท บริษัทฯ

บันทึกบัญชีในราคาทุนคือ 5,000,000 บาท และได้บันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาในระหว่างที่ใช้รถยนต์คันนี้

โดยคิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุน 1,000,000 บาท ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี โดยบันทึกค่าเสื่อมราคา

ตั้งแต่วันที่ซื้อจนถึงวันที่ขายบริษัทฯ ได้ขายรถคันนี้ไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543 ในราคา 2,500,000

บาท ในวันที่ขายนั้น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์ มียอดเท่ากับ 650,000 บาท และได้บันทึกบัญชี

กำไรขาดทุนจากการขายรถยนต์คันนี้ ตามการคำนวณดังนี้

ราคาขาย 2,500,000

หัก มูลค่าตามบัญชีสุทธิ -

- ราคาทุน 5,000,000

- ค่าเสื่อมราคาสะสม-คิดค่าเสื่อมราคา

จากราคาทุน 1 ล้านบาท โดยคำนวณ

จากวันที่ซื้อจนถึงวันขาย (650,000) 4,350,000

ขาดทุนจากการขายรถยนต์ตามบัญชี 1,850,000

บริษัทฯ หารือว่า กรณีขายรถยนต์คันดังกล่าว ในทางภาษีบริษัทฯ จะต้องบวกกลับหรือไม่

ถ้าบวกกลับ จะบวกกลับด้วยจำนวนเงินเท่าใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกา

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ ซื้อรถยนต์นั่งมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2539 มูลค่าต้นทุนของ

ทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งเฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิ ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่

ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 มูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหนึ่งล้าน

บาทนั้น บริษัทฯ หักค่าเสื่อมราคาไปแล้ว 650,000 บาท ต้นทุนทรัพย์สินที่ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ จึงยังคง

เหลืออยู่ 350,000 บาท เมื่อบริษัทฯ ขายรถยนต์นั่งไปในราคา 2,500,000 บาท บริษัทฯ จึงมีกำไร

จากการขายรถยนต์ 2,150,000 บาท เมื่อบริษัทฯ บันทึกการขายรถยนต์นั่งเป็นขาดทุน 1,850,000

บาท บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าต้นทุน 4,000,000 บาท ที่ต้องห้ามหักเป็นรายจ่ายไปบวกกลับใน

การคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.1033 ลงวันที่ 28 กันยายน 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)