Skip to Content

การหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้เช่าอาคารและพื้นที่เพื่อใช้เป็นสำนักงานและจำหน่ายสินค้า โดยได้ลงทุนตกแต่ง

พื้นที่ดังกล่าวและลงบัญชีเป็นค่าตกแต่งตัดจำหน่ายในอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาได้มีการตกแต่งใหม่

โดยที่ค่าตกแต่งเดิมยังตัดไม่หมด จึงหารือว่า บริษัทฯ จะตัดค่าตกแต่งเดิมที่เหลือออกจากบัญชีได้หรือไม่

อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (2), มาตรา 65 ตรี (5), มาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527

แนววินิจฉัย

ค่าตกแต่งอาคารและพื้นที่เป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่

145) พ.ศ. 2527 กรณีที่บริษัทฯ ได้มีการตกแต่งสำนักงานใหม่ โดยมิได้มีการรื้อของเดิมทิ้ง บริษัทฯ

จะนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินส่วนที่ยังตัดไม่หมดไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิทั้งจำนวนไม่ได้ ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อไปจนหมด เว้นแต่บริษัทฯ ได้มีการรื้อ

หรือได้ทำลายทรัพย์สินนั้น บริษัทฯ จึงจะมีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้ง

จำนวนในปีที่มีการรื้อหรือทำลายได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.194 ลงวันที่ 12 เมษายน 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)