การหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินข้อเท็จจริงบริษัท ส. ได้ทำการสร้างอาคาร 5 ชั้น โดยเริ่มก่อสร้างก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 385) พ.ศ. 2544 จะมีผลบังคับใช้ แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมใช้งานในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เช่นนี้การก่อสร้างอาคารโดยทำการจ้างผู้รับเหมาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองจะถือเป็นการสร้าง อาคาร "โดยวิธีอื่นใด" มีสิทธิหักค่าเสื่อมราคาร้อยละยี่สิบของมูลค่าต้นทุนเบื้องต้นในวันที่อาคารพร้อมใช้ งานตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 385) พ.ศ. 2544 ได้หรือไม่ ถ้าหักได้ บริษัทฯ ต้องแสดงหลักฐานแก่กรมสรรพากรอย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 385) พ.ศ. 2544แนววินิจฉัยการให้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 385) พ.ศ. 2544 จะต้องเป็นอาคารถาวรที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการซื้อ หรือโดยวิธีอื่นใด และคำว่า "โดยวิธีอื่นใด" ให้ตีความว่า ลักษณะทำนองเดียวกับ "ซื้อ" โดยตีความเช่นเดียวกับ "ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น" ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร คำว่าสิทธิอย่างอื่น หมายถึง สิทธิที่มี ลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ สร้างอาคารขึ้นเอง จึงไม่มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตาม พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.03)/541 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 |