การลดทุน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการลดทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการลดทุนข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้กำหนดจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้กับพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศเป็นครั้งคราวเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายของพนักงาน โดยที่พนักงานไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงิน มาแสดงกับบริษัทฯ แต่อย่างใด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. พนักงานของบริษัทฯ ได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวในประเทศไทยและจากสาขาของบริษัทฯ ในต่างประเทศ พนักงาน ของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ 2. บริษัทฯ จ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานของบริษัทฯ แล้ว และไปเรียกเก็บจากสาขาในต่างประเทศ เงินค่าเบี้ยเลี้ยง ดังกล่าวพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ 3. จากกรณีตาม 1. และ 2. หากไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่บริษัทฯ ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนำส่งไปแล้ว พนักงานมีสิทธิขอคืนภาษีหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ ได้กำหนดจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้กับพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศเป็นครั้งคราว พนักงานของบริษัทฯ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเข้าลักษณะดังนี้ 1. ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น 2. ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตาม หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดย สุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐาน การจ่ายเงินมาพิสูจน์ 3. ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม 2. และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐาน มาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเพียงเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตรา ตาม 2. การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตาม 1. 2. และ 3. ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอก สำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้ว แต่กรณีด้วย ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/8322 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 |