Skip to Content

การยื่นรายการของผู้ที่ถึงแก่ความตาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินคืนเมื่อผู้ได้รับคืนเงินถึงแก่ความตาย

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินคืนเมื่อผู้ได้รับคืนเงินถึงแก่ความตาย


ข้อเท็จจริง

สำนักงานสรรพากรอำเภอหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินคืนกรณีผู้ขอคืนเงินถึงแก่

ความตายโดยมีข้อเท็จจริงดังนี้

1. นาย ก. ได้รับคืนเงินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงวันที่ 29

ธันวาคม 2542 จำนวน 20,231.90 บาท แต่นาย ก. ตายเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542

2. นาย ข. บุตรของนาย ก. ได้นำหลักฐานแสดงการเป็นทายาทมาขอรับเงินภาษีคืนแทน

นาย ก.

สำนักงานสรรพากรอำเภอเห็นว่า กรณีเคยปฏิบัติจะจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็น

ผู้จัดการมรดกเท่านั้น และได้แนะนำให้ไปดำเนินการร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แล้วนำ

คำสั่งศาลมาขอรับเงินคืน แต่นาย ข. โต้แย้งว่าการไปดำเนินการทางศาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเสียเวลา

ซึ่งจังหวัดฯ เห็นว่าเมื่อนาย ก. ได้รับคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วถึงแก่ความตาย เงินคืนภาษี

ดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และมาตรา 1600 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่ทายาทไม่สามารถจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือใน

การแบ่งปันมรดกทายาทจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ตามมาตรา 1713(2) แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่ทายาทตกลงแบ่งปันมรดกกันได้ ก็สามารถแบ่งปันมรดกโดยทำ

เป็นสัญญาที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทายาททุกคนเพื่อให้ทายาทคนหนึ่งคนใดเป็นผู้รับเงินคืนก็ได้

ตามมาตรา 1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จังหวัดฯ หารือว่าความเห็นของ

จังหวัดฯ ถูกต้องหรือไม่

สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า กรณีตามข้อเท็จจริงที่หารือการจัดการกองมรดกนั้น หากมี

ทายาทหลายคนทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จ

แล้ว ตามมาตรา 1745 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ทายาทจะร่วมกันจัดการและแบ่งปัน

มรดกในระหว่างกันเองในฐานะที่เป็นเจ้าของร่วมกันได้ ตามมาตรา 1358 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีทายาทของนาย ก. ทำหนังสือให้นาย ข. เป็นผู้รับคืนเงิน

ภาษีอากรของนาย ก. ที่กรมสรรพากรสั่งคืนให้นั้นสามารถทำได้และการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่นาย

ข. ทำการในฐานะตัวแทนของทายาทของนาย ก. ตามมาตรา 797 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้งเมื่อทายาทของนาย ก. สามารถตกลงกันในเรื่องมรดกได้ก็ไม่

จำต้องร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ฉะนั้นหากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทายาททั้งหมดของนาย ก. ได้มอบให้นาย ข. เป็นผู้รับเงินภาษีของนาย

ก.โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของทายาททุกคน สำนักงานสรรพากรอำเภอต้องจ่ายเงินคืนให้

นาย ข. โดยไม่จำต้องให้บุคคลดังกล่าวร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการกองมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 27 ตรี, มาตรา 63, มาตรา 57 ทวิ

แนววินิจฉัย

กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายและรวมตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และ

ความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย โดยสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ที่จะเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท

จะต้องไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ตาย

กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น เมื่อผู้มีสิทธิรับคืนเงินภาษีถึงแก่ความตายสิทธิในการรับคืนเงิน

ภาษีอากร ซึ่งไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททันทีโดยผลของกฎหมายตาม

มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ทายาทมีสิทธิ

ดำเนินการร่วมกันเพื่อขอคืนเงินภาษีอากรโดยให้ทายาททั้งหมดของ นาย ก.ทำหนังสือลงลายมือชื่อ

มอบอำนาจให้ นาย ข. เป็นผู้รับคืนเงินภาษีอากรแทนทายาททุกคนตามมาตรา 1745 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หากกรณีทายาทไม่สามารถจัดการร่วมกัน หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการทายาทหรือ

ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามมาตรา 1713(2) แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับคืนเงินภาษีอากรต่อไป




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/965 ลงวันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)