การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2545 กับบรรษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ประกอบด้วย 1. เงินต้นทั้งหมดจำนวน 1,461,044,749.88 บาท 2. ดอกเบี้ยค้างจ่าย คำนวณถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 822,515,418.05 บาท แต่บริษัทฯ บันทึกบัญชีดอกเบี้ยจ่ายถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 บริษัทฯ มิได้บันทึกดอกเบี้ยจ่ายที่ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 318,678,548.58 บาท 3. บริษัทฯ จะต้องทำการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เป็นหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ให้แก่บรรษัท ซึ่ง เป็นทรัพย์สินตามโครงการขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ได้แก่ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินเปล่า ถนน สวนสาธารณะ โรงเรียนอนุบาล และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารสำนักงานของบริษัทฯ รวมทั้ง มิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้า โทรศัพท์และส่วนควบพร้อมทั้งเครื่องอุปกรณ์ใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าว ข้างต้น จึงหารือว่า 1. ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 318,678,548.58 บาท ที่บริษัทฯ มิได้บันทึกบัญชีจะต้องปรับปรุงแบบ ภ.ง.ด.50 และบันทึก บัญชีอย่างไร 2. บริษัทฯ โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เป็นหลักประกันชำระหนี้ให้แก่บรรษัท ปรากฏว่าสินทรัพย์ที่ โอนกรรมสิทธิ์มีมูลค่าสูงกว่าภาระหนี้สิน เกิดผลขาดทุนจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จะถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรีแนววินิจฉัย1. กรณีที่บริษัทฯ มีรายจ่ายดอกเบี้ยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 318,678,548.58 บาท ที่บริษัทฯ ยังมิได้บันทึกบัญชีนั้น หากดอกเบี้ย ค้างจ่ายดังกล่าวเกิดจากรายจ่ายในการดำเนินการของกิจการเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งมิใช่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ย่อมมีสิทธิยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติมของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเพื่อปรับปรุงรายการรายจ่ายให้ถูกต้องได้ สำหรับการ บันทึกบัญชีให้ทำตามมาตรฐานการบัญชีและหลักการบัญชีที่เป็นที่รับรองโดยทั่วไป 2. กรณีบริษัทฯ โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่เป็นหลักประกันชำระหนี้ให้แก่บรรษัท ปรากฏว่าสินทรัพย์ ที่โอนกรรมสิทธิ์มีมูลค่าต้นทุนสินทรัพย์นั้นสูงกว่าภาระหนี้สิน โดยมีผลขาดทุนเท่ากับส่วนต่างระหว่างมูลค่า ต้นทุนของสินทรัพย์ที่โอนชำระหนี้กับภาระหนี้สิน ผลขาดทุนดังกล่าวบริษัทฯ มีสิทธินำไปหักเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/6735 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 |