Skip to Content

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้


ข้อเท็จจริง

1. ลูกค้าของสำนักงานรายหนึ่งซึ่งมีฐานะเป็นบริษัท ประกอบกิจการโรงแรม ได้ปลูกสร้าง

อาคารลงบนที่ดินของบริษัทและของกรรมการของบริษัทโดยเป็นแปลงที่มีอาณาเขตติดกัน ในการปลูกสร้าง

อาคารดังกล่าวได้กู้ยืมเงินจากธนาคารโดยจำนองที่ดินที่ตั้งของอาคารเป็นประกัน

2. ต่อมาบริษัทประสบปัญหาด้านการเงินและขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับ

ธนาคารสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ

สถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนดและในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวมี

ข้อกำหนดให้

2.1 กรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของที่ดินที่บริษัทปลูกสร้างอาคาร โอนที่ดินดังกล่าว

ให้แก่ธนาคารเพื่อชำระหนี้

2.2 เมื่อธนาคารได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้ว ธนาคารตกลงจะขายที่ดินดังกล่าวคืนให้

บริษัท

3. สำนักงานฯ ขอหารือว่า การโอนที่ดินตาม 2.1 และ 2.2 กรรมการบริษัทและ

ธนาคารจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2543

แนววินิจฉัย

1. กรณีที่กรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของที่ดินที่บริษัทปลูกสร้างอาคาร โอนที่ดินดังกล่าว

ให้แก่ธนาคารถือเป็นกรณีที่ลูกหนี้โอนทรัพย์สินให้แก่สถาบันการเงิน หากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการ

โอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และได้กระทำ

ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 การโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่

ธนาคารย่อมได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน

ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542

2. กรณีกรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของที่ดินที่บริษัทปลูกสร้างอาคารโอนที่ดินดังกล่าวให้

ธนาคารและต่อมาธนาคารขายที่ดินดังกล่าวให้บริษัท เนื่องจากที่ดินที่ธนาคารได้รับโอนมา เป็นการ

รับโอนจากกรรมการของบริษัทที่เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นการรับโอนทรัพย์สินเนื่องจากการปรับปรุง

โครงสร้างหนี้ และได้รับสิทธิทางภาษีดังกล่าวแล้วตาม 1 เมื่อธนาคารขายทรัพย์สินดังกล่าวออกไป

เนื่องจากมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 360) พ.ศ.2542 กำหนดคำว่า “ลูกหนี้” ให้รวมถึง

ผู้ค้ำประกันด้วย ดังนั้น การที่สถาบันการเงินโอนขายที่ดินของผู้ค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้ย่อมได้รับสิทธิยกเว้น

ภาษีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/32366 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)