Skip to Content

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะโอนห้องชุดจำนวน 13 ห้อง ให้แก่บริษัทเงินทุนฯ เพื่อชำระหนี้

ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ

สถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด แต่เมื่อไปโอนห้องชุดเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า

สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใน

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ บริษัทฯ จึงขอทราบว่าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตาม

สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542

แนววินิจฉัย

กรณีสถาบันการเงินฟ้องร้องลูกหนี้และมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลมี

คำพิพากษาตามที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การปรับปรุง

โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว

ย่อมได้รับสิทธิทางภาษีอากรตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่

เกี่ยวข้อง

ดังนั้น กรณีตามข้อเท็จจริง หากเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้น

การโอนห้องชุดจำนวน 13 ห้องชุด ย่อมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับ

ที่ 360) พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับหลักฐานที่จะใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรม ให้ใช้

หนังสือรับรองการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร

และค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยเอกสารที่จะใช้ประกอบกับการใช้สิทธิตามหนังสือ

ดังกล่าว ในข้อ 2 จะใช้เป็นหนังสือสัญญาหรือเอกสารอื่นใดก็ได้ที่แสดงว่าเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/3738 ลงวันที่ 23 เมษายน 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)