Skip to Content

การคำนวณภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณรายได้จากการให้บริการ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณรายได้จากการให้บริการ


ข้อเท็จจริง

บริษัท ว. ได้ทำสัญญากับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ตั้งขึ้นตาม

กฎหมายของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เพื่อให้บริการจัดหา สินค้า ตรวจสอบคุณภาพสินค้า การตอบปัญหา และการหาข้อมูลให้แก่ลูกค้า

ของบริษัท อ. หรือบริษัทในเครือ สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดหาสินค้า การตรวจสอบ

คุณภาพสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร เช่น ค่าเช่า สำนักงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น บริษัท ว. จะเป็นผู้

ทดรองจ่ายแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บคืนจากบริษัท อ. ในภายหลัง โดยบริษัท ว. จะได้รับค่าบริการร้อยละ 5 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว ซึ่งบริษัท

ว. ได้นำมาเสียภาษี ดังนี้

1.1 ภาษีเงินได้

นิติบุคคล บริษัท ว. บันทึกรับรู้รายได้จากค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมดรวมกับค่าบริการที่ได้รับใน อัตราร้อยละ 5 โดยบริษัท ว. มิได้นำค่า

เสื่อมราคาทรัพย์สินมาเป็นฐานในการคำนวณค่าบริการดังกล่าว

1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บริษัท ว. คำนวณจากฐานรายได้ค่าบริการในอัตราร้อยละ 5 ของค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมด ที่เกิดขึ้น

2. บริษัท ว. ได้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของ

ทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี โดยนำค่าเสื่อมราคาดังกล่าว มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ใน

การคำนวณค่าบริการในอัตราร้อยละ 5 ของค่าใช้จ่ายในการบริหาร ไม่ได้นำค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินมารวมเป็นฐานค่าใช้จ่ายในการ

คำนวณค่าบริการดังกล่าว

3. บริษัท ว. ไม่ได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีมาถือ

เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

จากข้อเท็จจริงข้างต้น

1. บริษัท ว. ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการดัง

กล่าวอย่างไร

2. บริษัท ว. ต้องนำค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินมารวมเป็น

ฐานค่าใช้จ่ายในการคำนวณค่าบริการในอัตราร้อยละ 5 เพื่อนำ มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ (4) มาตรา 77/2 มาตรา 79 และมาตรา 79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัท ว. ให้บริการจัดหาสินค้าและตรวจสอบคุณภาพ

สินค้า แก่ลูกค้าของบริษัท อ. และบริษัทในเครือ ซึ่งเข้าลักษณะ เป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2

แห่งประมวลรัษฎากร โดยฐานภาษีของการให้บริการ ดังกล่าว ได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่บริษัท ว. ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ ตาม

มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัท ว. มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่ง

มอบใบกำกับภาษีดังกล่าว ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัท ว. มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการดังกล่าว มาถือ

เป็นภาษีซื้อในการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีการคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ต้องคำนวณจากฐานรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65

ทวิ และมาตรา 65 ตรี ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท ว. ต้องคำนวณจาก

ฐานรายรับที่บริษัท ว. ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล การโอน

ทรัพย์สิน การให้บริการหรือการให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงาน

ประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงินได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร

มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาด ของการขายสินค้าหรือการให้บริการในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้นตามมาตรา 79/3(1) แห่งประมวล

รัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/2415 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)