Skip to Content

การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวนปีถือครองห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวนปีถือครองห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522


ข้อเท็จจริง

การโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดจาก ก. กับพวกซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในห้องชุดนั้นไปให้กับบุคคล

เพียงคนเดียวในกลุ่มของ ก. ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในห้องชุดนั้น ถือเป็นการขายต้องเสีย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น เนื่องจาก ก. กับพวกได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ใน

ห้องชุดดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

เจ้าพนักงานที่ดินได้คำนวณจำนวนปีที่ถือครองโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่ง ก.

กับพวกเห็นว่า ควรเริ่มนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนอาคารชุด จึงหารือว่า การนับจำนวนปีที่ถือครองห้องชุด

ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ ควรเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 50(5)

แนววินิจฉัย

กรณี ก. กับพวกได้ร่วมกันยื่นขอจดทะเบียนโอนห้องชุดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่าง ก.

กับพวกไปให้กับบุคคลเพียงคนเดียวในกลุ่มของ ก. ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในห้องชุดนั้น ในการคำนวณ

จำนวนปีที่ถือครองในการหักภาษีตามมาตรา 50(5) แห่งประมวลรัษฎากร “จำนวนปีที่ถือครอง”

หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในห้องชุดนั้น




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.1474 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)