Skip to Content

การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายอสังหาริมทรัพย์


ข้อเท็จจริง

นาย ก ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) ขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี

2541 กรณีเจ้าพนักงานที่ดิน หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกิน จำนวน 63,239,400 บาท ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริง

ดังนี้

1. นาย ก ซื้อที่ดิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2527 และในวันเดียวกันได้จดทะเบียนจำนอง

ที่ดินกับบริษัทเงินทุนทรัพย์ฯ จำนวน 17,000,000 บาท

วันที่ 16 มกราคม 2528 นาย ก ได้ทำสัญญาให้บริษัท ข จำกัด เช่าที่ดินดังกล่าวมี

กำหนดเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2528 - 31 มกราคม 2558 โดยให้คำมั่นว่าหากบริษัทฯ

ประสงค์จะซื้อที่ดินที่เช่าในช่วงระยะเวลาที่สัญญาเช่ามีผลบังคับจะขายที่ดินให้ในราคาสูงสุดไม่เกิน

25,000,000 บาท

2. วันที่ 9 ตุลาคม 2529 นาย ก ได้เพิ่มเงินจำนองกับ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฯ จำนวน

5,940,000 บาท รวมเป็นเงินจำนอง 22,940,000 บาท

3. วันที่ 28 กันยายน 2531 บริษัทฯ ได้บอกกล่าวความจำนงขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจาก

นาย ก ในราคา 25,000,000 บาท และระบุให้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับ

หนังสือบอกกล่าว แต่นาย ก มีหนังสือปฏิเสธการซื้อขาย บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องนาย ก เพื่อบังคับซื้อที่ดินเช่า

ตามข้อตกลงในสัญญาและศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 5758/2539 ให้นาย ก โอนขายที่ดินให้บริษัทฯ ใน

ราคา 25,000,000 บาท โดยติดจำนองพร้อมเสียภาษีในการโอนจึงได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินตาม

คำพิพากษาในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 เจ้าพนักงานที่ดิน ได้กำหนดจำนวนทุนทรัพย์เพื่อจดทะเบียนสิทธิและ

นิติกรรมจำนวน 377,240,000 บาท และคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำนวน

65,439,400 บาท

4. นาย ก ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2542

ขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2541 กรณีเจ้าพนักงานที่ดินฯ หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินจำนวน

63,239,400 บาท เนื่องจากได้ขายที่ดินตามคำพิพากษาให้บริษัทฯ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในราคา

25,000,000 บาท ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.9/2528ฯ

ข้อ 2(1) ที่กำหนดให้ถือจำนวนเงินตามราคาซื้อขายเป็นเงินได้พึงประเมิน การที่เจ้าพนักงานที่ดินนำ

ราคาประเมินเมื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงเป็นการ

ไม่ถูกต้อง

5. สรรพากรพื้นที่เห็นว่า ตามข้อเท็จจริง ถือว่า นาย ก มีเงินได้จากการโอนขายที่ดินให้

กับบริษัทฯ เป็นเงินประมาณ 48,000,000 บาท (ราคาซื้อขาย 25,000,000 บาท รวมเงินจำนอง

จำนวน 22,940,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยถึงวันโอน)

6. สรรพากรภาคมีความเห็นว่า ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขโดย

พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2534 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2534 บัญญัติว่า "ใน

กรณีที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนไม่ว่าราคาที่

ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตามให้เจ้าพนักงานประเมินกำหนด

ราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ

และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น" ดังนั้น กรณีตาม

ข้อเท็จจริงเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 จึงต้องถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อ

เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนวน 377,240,000 บาท เป็นราคาขายใน

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีไม่ต้องด้วย

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.9/2528 ฯ ข้อ 2(1) เนื่องจากมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรที่แก้ไข

ใหม่มิได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์ตามราคาที่พึงได้รับจาก

การขายตามปกติอีกต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามข้อผูกพันระหว่างบริษัทฯ (ผู้รับโอน) กับนาย ก (ผู้โอน) ได้เกิดขึ้นก่อนที่

จะได้มีการแก้ไขมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับผลการวินิจฉัยเรื่องนี้มีผลกระทบต่อ

การพิจารณาคืนเงินภาษีอากรเป็นจำนวนมากจึงขอให้พิจารณาว่าความเห็นของสรรพากรภาคถูกต้อง

หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 49 ทวิ

แนววินิจฉัย

นับแต่วันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นต้นมาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการ

โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องเป็นไปตามมาตรา 46 ทวิ แห่ง

ประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติว่า "...การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์...ไม่ว่า

ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของ อสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตามให้เจ้าพนักประเมิน

กำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น"

ฉะนั้น กรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้ราคา 377,240,000 บาท ซึ่งเป็นราคาประเมิน

ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่

ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์สำหรับที่ดินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงเป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กรณีตาม

ข้อเท็จจริงไม่ต้องด้วยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.9/2528 ฯ ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และ

ไม่มีกรณีต้องพิจารณาว่าคำมั่นว่าจะซื้อหรือขายมีผลผูกพันคู่สัญญาเมื่อใด เนื่องจากมาตรา 49 ทวิ แห่ง

ประมวลรัษฎากร บัญญัติชัดแจ้งให้กำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ซึ่งเป็น

ราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียน




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/11340 ลงวันที่ 03 พฤศจิกายน 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)