การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกตามคำพิพากษา
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกตามคำพิพากษาข้อเท็จจริงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกตามคำพิพากษาศาลระหว่างทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับ ผู้รับโอน (ทายาทโดยธรรม) สำหรับที่ดินมรดกของนาย ค. โดยนาง ข. ได้ใช้คำพิพากษาศาลแสดง เจตนาการโอนแทนผู้โอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 39, มาตรา 50(6), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.9/2528ฯแนววินิจฉัยเมื่อทายาท ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทอื่นโดยผลของ กฎหมายตามมาตรา 1599 มาตรา 1639 หรือมาตรา 1607 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกตามคำพิพากษากรณีนี้ ถือได้ว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ โดยทางมรดกให้แก่ทายาท จึงไม่ถือว่าเป็นการขาย ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรและไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ 1 (1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.9/2528 เรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ต้องกำหนดราคาขาย ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และมิใช่ กรณีตามมาตรา 50 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ทั้งผู้โอนและผู้รับโอน จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/816 ลงวันที่ 27 เมษายน 2541 |