การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ข้อเท็จจริงนางสาว ส. หารือกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์คืนจากนาง อ. ว่าจะต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมและภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 39, มาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 342)ฯ พ.ศ. 2541แนววินิจฉัย1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือว่าตามคำฟ้องและคำพิพากษาตาม สัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เป็นกรณีปรากฏชัดแจ้งว่า ตัวแทนถือ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทนตัวการ เมื่อตัวแทนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์คืนให้ตัวการโดยไม่ได้รับ เงินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนการโอนดังกล่าวไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามข้อ 10(11) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.100/2543 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 2. กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ การโอนที่ดินให้นาง อ. ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2530 เมื่อจะมี การโอนที่ดินคืนในปัจจุบันถือว่าเป็นการโอนที่ดินที่กระทำภายหลังห้าปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่ง ที่ดิน จึงไม่เข้า ลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/ก.00201 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 |