Skip to Content

การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์


ข้อเท็จจริง

นาย ก ได้ไปขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ณ สำนักงานที่ดิน เจ้าหน้าที่ได้

เรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงิน 48,245 บาท นาย ก เห็นว่า เป็นการ

ไม่ถูกต้องเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542 ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ

เงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ เฉพาะเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น แต่

นาย ก ก็ได้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่นาย

ข ในวันนั้นได้ นาย ก จึงขอทราบว่า ถ้านาย ก ต้องการขอคืนภาษีส่วนที่ได้ชำระเกินไป นาย ก จะ

ต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งกรมที่ดินเห็นว่า เนื่องจากเรื่องนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร

ประกอบกับกรมสรรพากรยังไม่เคยแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้กรมที่ดินทราบ ดังนั้น

กรมที่ดินจึงขอหารือว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วแนวทางปฏิบัติในการเรียกเก็บ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่

อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 48(4)(ก), (ข), มาตรา 50(ก), (ข), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542

แนววินิจฉัย

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542 เป็นกรณียกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ

เงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะเงินได้ส่วนที่

ไม่เกิน 50,000 บาทแรก สำหรับปีภาษีนั้น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แต่

ตามข้อเท็จจริงของนาย ก เป็นกรณีหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่ง

ขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) หรือ (ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ดังนี้

(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจาก

การให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษี

ทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ

เหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4)(ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ในการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับ ซึ่งขาย

อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(4)(ก) หรือมาตรา 48(4)(ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ซึ่งมิใช่การคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีสิทธิ

ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาฯ

ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลง

แนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่เดิมแต่อย่างใด

อนึ่ง เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่นาย ก ได้รับในระหว่างปีภาษี

พ.ศ. 2542 นั้น และนาย ก เลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก

การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร

โดยนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ก ก็จะได้

รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท

แรก ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12882 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)