การขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้ขายอาคารที่พักอาศัยพร้อมที่ดิน ให้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในราคา 141,716,250 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารที่พักอาศัยพร้อมที่ดิน ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยบริษัทฯ ได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารที่พักอาศัยพร้อมที่ดินดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง (ใน ราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2543 ซึ่ง ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินฯ บริษัทฯ ได้ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ของราคาทุนทรัพย์ ไว้เป็นจำนวนเงิน 1,417,163 บาท ซึ่งข้อเท็จจริงในวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังไม่ได้ชำระเงินให้แก่บริษัทฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการชำระเงิน จะต้องเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขาย คือ จะมีการชำระเงินภายหลังวันโอนกรรมสิทธิ์โดยคณะกรรมการ ตรวจรับของผู้จะซื้อได้ทำการตรวจรับแล้วจำนวน 14,171,625 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 127,544,625 บาท จะชำระภายในเดือนธันวาคม 2543 ซึ่งต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ชำระเงินงวดแรกให้แก่บริษัทฯ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 เป็นจำนวนเงิน 14,171,625 บาท โดย ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้อีกจำนวน 141,716.25 บาท บริษัทฯ เข้าใจว่าเป็นการหักภาษีซ้ำซ้อนกัน จึงขอให้กรมสรรพากรออกหนังสือชี้แจงไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 69 ตรี, มาตรา 69 ทวิแนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้ขายอาคารที่พักอาศัยพร้อมที่ดินให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขายว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะชำระเงินให้บริษัทฯ ภายหลังจากที่ บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด ซึ่งในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บริษัทฯ ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของ ราคาทุนทรัพย์ ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ณ สำนักงานที่ดินแล้ว ต่อมาเมื่อสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวงวดแรกให้แก่บริษัทฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของจำนวนเงินที่จ่ายไว้อีก ตามมาตรา 69 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 1.0 ของจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละงวด ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น โดย ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 เมื่อมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตาม มาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด เมื่อบริษัทฯ ถูกสำนักงานตำรวจแห่งชาติหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินได้จำนวนเดียวกัน 2 ครั้ง จึงเป็นกรณีบริษัทฯ ถูกสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เกินหรือผิด หรือซ้ำ บริษัทฯ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเงิน ภาษีอากร และบริษัทฯ ไม่ต้องนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้เกิน หรือผิด หรือซ้ำ ไปเครดิตใน การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/ก.1101 ลงวันที่ 29 กันยายน 2543 |