กาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ข้อเท็จจริงบริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมประมูลซื้อบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการ ดำเนินการ ตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 จาก องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. เมื่อบริษัทฯ ซื้อบัญชีลูกหนี้แล้ว และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด บริษัทฯ เป็นสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ผู้รับโอนสิทธิในบัญชีลูกหนี้ ดังกล่าว บริษัทฯจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.77/2541 ฯ และ พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541 หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528ฯ, กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541แนววินิจฉัย1. กรณีบริษัทฯ ซื้อบัญชีลูกหนี้ (สัญญาเงินกู้) ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนิน กิจการ ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 จากองค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) การโอนขายสิทธิตามสัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้ ผู้ขายแต่ละ รายจะโอนบรรดาสิทธิทั้งหมดที่ตนมีตามสัญญาให้แก่บริษัทฯ (ผู้ซื้อ) และบริษัทฯ (ผู้ซื้อ) รับเอาสิทธิ ทั้งหมดดังกล่าวโดยมีผลตั้งแต่วันปิดการจำหน่าย และนับแต่วันปิดการจำหน่าย บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ซื้อจึงเป็น เจ้าหนี้รายใหม่ และเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ตามสัญญาเงินกู้ดังกล่าวจะต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้กับบริษัทฯ 2. กรณี บริษัทฯ มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด บริษัทฯ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ผู้รับโอนสิทธิในบัญชีลูกหนี้ (สัญญาเงินกู้) และลูกหนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรดังนี้ 2.1 ในส่วนของหนี้ที่บริษัทฯ ได้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2542 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ให้บริษัทฯ มีสิทธินำมา จำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ ตามข้อ 6 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2541)ฯ 2.2 การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทฯ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ เว้นแต่รายได้ส่วนที่ เป็นดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชำระติดต่อกันเป็นเวลาเกินสามเดือนแล้ว บริษัทฯ จะ นำดอกเบี้ยส่วนนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชำระก็ได้ตามข้อ 4.1 แห่ง คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.77/2541 ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 2.3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ลูกหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของบริษัทฯ เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้ทำระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541 2.4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ ลูกหนี้ ของบริษัทฯ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และ สำหรับการกระทำตราสาร ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทำระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 325) พ.ศ. 2541 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/02513 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2542 |