Skip to Content

กองทุน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระภาษีของกองทุนส่วนบุคคล

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระภาษีของกองทุนส่วนบุคคล


ข้อเท็จจริง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้พิจารณาให้ใบอนุญาต

ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก่ บลจ. ก. ในการประกอบธุรกิจ

หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ก. จะต้องเสียภาษีอากร อย่างไรบ้าง


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 39, มาตรา 40 (4), มาตรา 47 (7) (ข),มาตรา 48 (3), มาตรา 50 (2), มาตรา 65 ทวิ, มาตรา 65 ตรี, มาตรา 77/1 (10) (ข),มาตรา 82/5 (6), กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528

แนววินิจฉัย

ผู้เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคล คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่นำไปมอบให้บริษัทที่ได้รับ

อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะ

ได้รับ แยกตามสถานะของผู้มีเงินได้จะมีภาระภาษีดังนี้

1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา จะมีภาระภาษีแยกตามประเภทต่าง ๆ ของเงินได้

ดังนี้

(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก

เงินได้ดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์

ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้

จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดย

เฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรือ

อุตสาหกรรม อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข)

แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้โดยไม่ต้องนำไป

รวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก

เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร และหาก

ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวม

คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปี สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้

รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย

โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ

อุตสาหกรรม ตามมาตรา 48 (3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้

กรณีผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีภูมิลำเนาใน

ประเทศไทยหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้ดังกล่าวจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง

ขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น

ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตใน

การคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

(ค) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก

เงินได้ดังกล่าวเป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน

และผู้มีเงินได้เป็นผู้ทรงคนแรก อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตาม

มาตรา 50 (2) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 โดย

ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีตามมาตรา 48 (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก

เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้

จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126

(พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (23)

กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้

จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (2) แห่ง

ประมวลรัษฎากร

กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่

ได้จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ก) แห่ง

ประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในอนุสัญญาภาษีซ้อนบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

(จ) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หากได้

รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน อยู่

ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ค)

แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 (30) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออก

ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196

(พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้น

ไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

2. กรณีผู้มีเงินได้เป็นกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กลุ่มบุคคล

ดังกล่าวมีฐานะเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งมีภาระภาษีเช่นเดียวกับ 1. โดยผู้อำนวยการ

หรือผู้จัดการเป็นผู้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในนามของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม

มาตรา 56 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวประกอบด้วย สามี ภรรยา

โดยชอบด้วยกฎหมายและความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี

3. กรณีผู้มีเงินได้มีฐานะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มี

หน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือน

มีนาคมทุก ๆ ปี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด

ผู้มีเงินได้ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะ

มีภาระภาษีดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

(ก) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง

ประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นธนาคารตามกฎหมาย

ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ

ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน

ประเทศไทย อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ข้อ 4 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530

(ข) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม สถาบันการเงินที่

มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม

หรืออุตสาหกรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งเป็น

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยหรือ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงบริษัทตาม (1) และ (2) ของข้อ 5

แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0

ตามข้อ 5 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ

(ค) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้

ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่จ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทยอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ

15 เว้นแต่เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีในอัตรา

ร้อยละ 10 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม

กฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยนั้น จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศที่มี

อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ภาระภาษีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติในอนุสัญญา

ดังกล่าว

(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ผู้มีเงินได้

ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากได้รับ

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก

ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ที่ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ

ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้จ่ายอยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ใน

อัตราร้อยละ 10.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ข้อ 4 (2)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ

ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี

แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อื่นมิใช่

รายได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใน

อัตราร้อยละ 10 และกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับการ

ลดอัตราภาษีลงเหลือร้อยละ 2

5. กรณีผู้มีเงินได้เป็น วัด มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47

(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง

ประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีแต่อย่างใด

6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกองทุนส่วนบุคคลเป็นการนำทรัพย์สินไปลงทุนโดยการนำ

เงินไปฝากธนาคาร ซื้อหลักทรัพย์ ไม่อยู่ในความหมายของ "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) (ข)

แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนส่วนบุคคลจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่อยู่ในบังคับ

ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ากองทุนส่วนบุคคลของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูก

เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม

มาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/05486 ลงวันที่ 07 มิถุนายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)