BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของกิจการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน


เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของกิจการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 2 บัตร บัตรส่งเสริมที่ 1 เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ขั้นอุตสาหกรรมมูลฐาน ตามบัตรส่งเสริม

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โรงงานนี้มีชื่อว่า ก.1 วันที่เริ่มมีรายได้ คือวันที่ 31 มกราคม 2541 และบัตรส่งเสริมที่ 2 เพื่อผลิตสิ่งปรุงแต่งอาหาร ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการ

ส่งเสริมการลงทุน โรงงานนี้มีชื่อว่า ก.2 วันที่เริ่มมีรายได้ คือ วันที่ 1 สิงหาคม 2546 นอกจากนั้นบริษัทฯ ได้ก่อสร้าง “ส่วนขยายโรงงาน ก.1 เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของ

โรงงาน ก.1 และโรงงาน ก.2 เพราะกระบวนการผลิตขั้นปฐมภูมิ คือ กระบวนการผลิตสังเคราะห์กลูโคส ของทั้ง 2 โรงงานเป็นกระบวนการผลิตเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในกระบวนการผลิต

ขั้นทุติยภูมิ ตติยภูมิและขั้นถัดไป ส่วนขยายนี้เป็นส่วนที่สร้างต่อเติมจากโรงงาน ก.1 โดยใช้งบประมาณของโรงงาน ก.2 ประกอบด้วยเครื่องจักรที่ซื้อภายในประเทศ ระบบสาธารณูปโภคที่

ขยายเพิ่ม ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งเครื่องจักรที่นำเข้าตามบัตรส่งเสริมที่ 2 ซึ่งได้นำเข้ามาติดตั้งและผลิตกลูโคสให้กับโรงงาน ก.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 เป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อโรงงาน ก.2 สร้างเสร็จ บริษัทฯ ยังคงใช้เครื่องจักรดังกล่าวผลิตผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 โรงงานร่วมกัน บริษัทฯ จึงหารือว่า

1. กรณีบริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรของโรงงาน ก.2 มาใช้ในกระบวนการผลิตสังเคราะห์กลูโคสให้กับโรงงาน ก.1 ในระหว่างระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้ง 2 โรงงาน

บริษัทฯ จะต้องเฉลี่ยรายได้อย่างไร

2. ในการเฉลี่ยรายจ่าย ณ ส่วนขยายของโรงงาน ก.1 ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ บริษัทฯ จะไม่ใช้การคำนวณเฉลี่ยตามเกณฑ์รายได้ แต่จะใช้การคำนวณเฉลี่ยตามเกณฑ์อื่น ๆ ที่บริษัทในต่างประเทศ

เป็นผู้กำหนดให้ดังต่อไปนี้ ได้หรือไม่

2.1 ระบบสาธารณูปโภคที่ใช้ร่วมกัน เฉลี่ยรายจ่ายตามอัตราส่วนการใช้น้ำบาดาลของแต่ละโรงงาน

2.2 ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ร่วมกัน เฉลี่ยรายจ่ายตามอัตราส่วนการใช้จุลินทรีย์และออกชิเจน ในการบำบัดน้ำเสียของแต่ละโรงงาน

2.3 รายจ่ายค่าเงินเดือน โบนัส ค่าทำงานล่วงเวลาของบุคลากรด้านบัญชี ด้านควบคุมคุณภาพ (Q.C) ด้านธุรการ ด้านคอมพิวเตอร์ จะเฉลี่ยจากอัตราส่วนของบุคลากรที่ทำงานให้กับ

แต่ละโรงงาน โดยบุคลากรดังกล่าวโรงงาน ก.1 เป็นผู้รับเข้ามาเพื่อสนับสนุนงานของโรงงาน ก.2

3. บริษัทฯ นำเครื่องจักรของโรงงาน ก.2 มาผลิตกลูโคสให้กับโรงงาน ก.1 ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

ของเครื่องจักรที่นำเข้า บริษัทฯ ควรจะเริ่มคำนวณนับแต่วันที่เครื่องจักรเริ่มผลิตหรือนับแต่วันที่โรงงาน ก.2 สร้างเสร็จ เนื่องจากส่วนขยายของโรงงาน ก.1 สร้างเสร็จก่อนเครื่องจักรที่นำเข้า

โดยเงื่อนไขตามบัตรส่งเสริมของโรงงาน ก.2 จึงเริ่มผลิตสังเคราะห์กลูโคสเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตให้กับโรงงาน ก.1 ไปก่อนและเมื่อโรงงาน ก.2 สร้างเสร็จ จึงได้ปันส่วนการผลิตกลูโคส

ให้กับโรงงาน ก.2 สำหรับกรณีการเฉลี่ยรายจ่ายที่เกี่ยวกับเครื่องจักร บริษัทฯ จะใช้วิธีเปรียบเทียบตามสัดส่วนการใช้กลูโคสของโรงงาน ก.1 และโรงงาน ก.2 โดยให้ถือเป็นรายจ่ายต้นทุนการ

ผลิตของโรงงานนั้น ๆ ได้หรือไม่

4. หากมีการจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกันทั้งสองโรงงานในระหว่างที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของโรงงาน ก.1 สิ้นสุดแล้ว แต่ของโรงงาน ก.2 ยังไม่สิ้นสุด รายได้จากการจำหน่าย

เครื่องจักรดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. และ 2. หากบริษัทฯ นำเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าตามบัตรส่งเสริมที่ 2 ไปใช้ผลิตสินค้าตามบัตรส่งเสริมที่ 1 รวมทั้งนำทรัพย์สินอื่น เช่น ระบบสาธารณูปโภค

ระบบบำบัดน้ำเสียและบุคลากร ซึ่งเป็นทรัพย์สินของโรงงานตามบัตรส่งเสริมที่ 2ไปใช้ร่วมกับโรงานตามบัตรส่งเสริมที่ 1 ในระหว่างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมทั้ง 2 บัตร ซึ่งแม้จะไม่เป็น

ไปตามเงื่อนไขของบัตรส่งเสริมดังกล่าว แต่ถือได้ว่าเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกัน จึงไม่มีกรณีต้องเฉลี่ยรายได้หรือรายจ่ายแต่อย่างใด แต่การปฏิบัติดังกล่าวหากไม่ได้รับความเห็น

ชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนก่อน บริษัทฯ อาจถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 อย่างไรก็ตาม หากสิทธิ

ประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมของบริษัทฯ บัตรใดบัตรหนึ่งหมดลงก่อน ถือว่าบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้บริษัทฯ จัดทำบัญชี

แยกกันสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกับกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ถ้ารายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้ง และไม่มี

เกณฑ์อื่นที่จะเฉลี่ยให้เป็นการเหมาะสมว่าเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวออกตามส่วนของรายได้แต่ละกิจการ ตามข้อ 3 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิ

และขาดทุนสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 กรณีบริษัทฯ นำเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่นตามบัตรส่งเสริมที่ 2 ไปใช้

ผลิตสินค้าตามบัตรส่งเสริมที่ 1 ระหว่างที่ 1 มิถุนายน 2546 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่บัตรส่งเสริมที่ 2 ยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ถือว่าบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้ง

ประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลรายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้ง และไม่มีเกณฑ์อื่นที่จะเฉลี่ยให้เป็นการเหมาะสมว่าเป็นรายจ่าย

ของกิจการใด ให้บริษัทฯ เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวออกตามส่วนของรายได้แต่ละกิจการ

2. กรณีตาม 3. กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร บริษัทฯ ต้องเริ่มคำนวณหักตั้งแต่ระยะเวลาที่ได้เครื่องจักรมา และเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน

หรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527

3. กรณีตาม 4. บริษัทฯ จำหน่ายเครื่องจักรที่ได้นำเข้าตามบัตรส่งเสริมที่ 2 หากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกรมสรรพากรแล้ว จึงจะได้รับการยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามข้อ 2.3 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5

กุมภาพันธ์ พ.ศ.2530




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/152 ลงวันที่ 11 มกราคม 2549

Article Number: 841
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Thu, Jul 28, 2022

Online URL: https://www.paseetax.com/article/boi-ภาษีเงินได้นิติบุคคล-กรณีการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของกิจการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน-841.html