นาย ก. นาง ข. และนาง ค. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ซื้ออาคารเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยในปี 2542 ขอทราบว่า บุคคลทั้งสามมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอย่างไร
นาย ก. นาง ข. และนาง ค. ร่วมกันกู้ยืมเงินซื้ออาคารเพื่ออยู่อาศัย ถือได้ว่า เป็นกรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ดังนั้น ผู้มีเงินได้แต่ละคนมีสิทธิหักลดหย่อนได้โดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และได้รับยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้โดยเฉลี่ยตามส่วนของผู้มีเงินได้แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
Article Number: 1855
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Thu, Jul 28, 2022
Online URL: https://www.paseetax.com/article/ลดหย่อน-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-กรณีการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม-1855.html