นาย ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนระงับการจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้าง
โดย นาย ส. ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงหารือว่า กรณีดังกล่าว
จะเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากราคาใดระหว่างราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนวน 2,693,600 บาท หรือจำนวนทุนทรัพย์ในการ
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ราคาขายทอดตลาด) จำนวน 1,600,000 บาท ซึ่งทั้งนี้ ตาม
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับชำระและนำส่งภาษีอากรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.
2542 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ "ราคาขาย" หมายความรวมถึง ราคาที่
เจ้าพนักงานประเมินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดตามมาตรา 49 ทวิ มาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา
123 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกรณีการขายทอดตลาดให้ถือราคาตามจำนวนทุนทรัพย์ในการ
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน (ราคาขายทอดตลาด) เป็นราคาขายตามปกติโดย
เจ้าพนักงานประเมินไม่ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 123 ตรี แห่ง
ประมวลรัษฎากรกำหนดราคาขาย โดยไม่แยกว่าผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นบุคคลธรรมดาหรือ
นิติบุคคล
กรณี นาย ส. ได้ซื้อที่ดินซึ่งปรากฏชื่อ นาย ร. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาดจึง
เข้าลักษณะบุคคลธรรมดาเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น กรณีตาม
ข้อหารือให้เจ้าพนักงานที่ดินกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายโดยถือ
ตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นราคาที่ ใช้อยู่
ในวันที่มีการโอนตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ป.100/2543 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การ
โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
Article Number: 1637
Author: Thu, Jul 28, 2022
Last Updated: Thu, Jul 28, 2022
Online URL: https://www.paseetax.com/article/การขายอสังหาริมทรัพย์-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก-ณ-ที่จ่าย-กรณีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์-1637.html