Skip to Content

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางกรณีตามมาตรา 81(1)(น)

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239)
พ.ศ. 2534
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เป็นปีที่ 46 ในรัชกาลปัจจุบัน


                    
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

                    
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
                    
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

                    
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534

                    
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป

                    
มาตรา  ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการขายสินค้า ดังต่อไปนี้

                    
(1) การขายบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล โดยผู้ขายที่มิใช่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่ผลิตสินค้าดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงผู้ขายที่เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร”
(ยกเลิกตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 539) พ.ศ. 2555 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป )

                    (2)
การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงกาชาดไทย

                    (3)
การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้

                    
(4) การบริจาคสินค้าให้แก่

                           (
ก) สถานพยาบาลและสถานศึกษา ของทางราชการ

                           (
ข) องค์การหรือแก่สถานสาธารณกุศล หรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่น นอกจากที่กล่าวใน (ก) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมาตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศฯ)
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 2 กำหนดองค์การ สาธารณกุศลฯ)
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศให้มูลนิธิฯ)

                    
(5) การขายเหรียญที่ระลึกของกรมธนารักษ์เนื่องในวโรกาสสำคัญ ซึ่งกรมธนารักษ์เป็นผู้ผลิตหรือนำเข้าโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีการนำรายได้จากการขายเหรียญ ดังกล่าวหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหรือถวายพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมราชชนนี หรือพระบรมวงศานุวงศ์”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 649) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับแก่การขายเหรียญที่ระลึกของกรมธนารักษ์ที่กรมธนารักษ์เป็นผู้นำเข้า ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

                    
(6) การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 321) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 25 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป)

                    
(7) การขายสินค้าของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 327) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 1 กันยายน 2541 เป็นต้นไป)

                    
(8) การขายทรัพย์สินระหว่างนิติบุคคลเฉพาะกิจกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 333) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 6 พฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศอธิบดีฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนทรัพย์สินตามโครงการการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์)

                    
(9) การขายสินค้าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 336) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 12 พฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไป)

                    
(10) การขายสินค้าของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 343) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)

                    
(11) การขายสินค้าที่ได้กระทำในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 347) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)

                    
(12) การขายทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจอันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 370) พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ 30 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป)

                    
(13) การขายสินค้าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2545 ใช้บังคับ 31 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)

                    
(14) การขายน้ำมันดีเซลของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมัน สำหรับมูลค่าของฐานภาษีที่เกิดขึ้นจากการขายน้ำมันดีเซลให้แก่สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                              
ผู้ค้าน้ำมัน” หมายความว่า ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย ว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงผู้กลั่นหรือผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วย การค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม

                              
น้ำมันดีเซล” หมายความว่า น้ำมันดีเซลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด คุณภาพของน้ำมันดีเซลสำหรับการส่งไปขายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยตามที่ กรมทะเบียนการค้าประกาศกำหนดและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด และต้องเป็นน้ำมันดีเซลที่ได้ซื้อมาจากผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ผลิตซึ่งไม่ต้องนำมูลค่าของน้ำมันดีเซลนั้นมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

                              
สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย” หมายความว่า เรือบรรทุกน้ำมันที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ขนถ่ายน้ำมันดีเซลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยเพื่อขายน้ำมันดีเซลให้แก่เรือจดทะเบียนสำหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย

                              
เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย” หมายความว่า เขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ตามพระบรมราชโองการประกาศเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538

                    (15)
การขายน้ำมันดีเซลของผู้ประกอบการซึ่งเป็นสถานีบริการจำหน่าย น้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย สำหรับมูลค่าของฐานภาษีที่เกิดขึ้นจากการขายน้ำมันดีเซลที่ผู้ประกอบการดังกล่าวได้ซื้อมาจากผู้ค้าน้ำมันตาม (14) ให้แก่เรือจดทะเบียนสำหรับการประมงตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 403) พ.ศ. 2545 ใช้บังคับ 23 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป)

                    
(16) การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับแสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร ให้แก่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับมูลค่าของฐานภาษีอันเนื่องมาจากการขายสินค้า ดังต่อไปนี้

                              (
ก) สินค้าที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซื้อเพื่อใช้เองเป็นการส่วนตัว หรือใช้ในวิชาชีพ ราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาท

                              (
ข) สินค้าที่ใช้ในบ้านเรือนที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเนื่องจากการย้ายภูมิลำเนาซื้อ ราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท

                              (
ค) บุหรี่ปริมาณไม่เกินสองร้อยมวน หรือซิการ์หรือยาเส้นปริมาณไม่เกินอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม หรือหลายชนิดรวมกันปริมาณไม่เกินสองร้อยห้าสิบกรัม แต่ทั้งนี้ บุหรี่ต้องมีปริมาณไม่เกินสองร้อยมวน

                              (
ง) สุราปริมาณไม่เกินหนึ่งลิตร

                              
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 448) พ.ศ. 2549 ใช้บังคับ 24 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)

                    (17) การขายนมสดพลาสเชอไรซ์และนมสดยูเอชที ผสมฟลูออไรด์ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ภายใต้โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 486) พ.ศ. 2552 ใช้บังคับ 18 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป)

                    (18) การขายสินค้าของสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 489) พ.ศ. 2552 ใช้บังคับ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

                    (19) การขายสินค้าของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 546) พ.ศ. 2555 ใช้บังคับ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)

                    (20) การขายทองคำแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ เฉพาะทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า ที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 662) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)

                    มาตรา  ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการให้บริการ ดังต่อไปนี้

                    (1)
การให้บริการสีข้าว

                    (2)
การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ที่มิได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

                         (
ก) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศที่กระทำโดยบุคคลตามสัญญาว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ

                         (
ข) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่ประเทศนั้นได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

                         (
ค) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันจากผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

                    
(3) การให้บริการสื่อสารทางวิทยุเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ระหว่างสถานีพื้นดิน หรือระหว่างอากาศกับพื้นดิน และการสื่อสารวิทยุเกี่ยวกับงานอุตุนิยม ตลอดจนการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดบริการดังกล่าว

                    (4)
การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยประกาศดังกล่าวจะกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)
(ดูประกาศกระทรวงการคลัง กำหนดสถานศึกษาซึ่งการให้บริการของสถานศึกษาดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

                    
(5) การให้บริการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 321) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 25 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป)

                    
(6) การให้บริการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 327) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 1 กันยายน 2541 เป็นต้นไป)

                    
(7) การให้บริการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 336) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 12 พฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไป)

                    
(8) การให้บริการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 343) พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)

                    
(9) การให้บริการที่ได้กระทำในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 347) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไป)

                    
(10) การให้บริการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2545 ใช้บังคับ 31 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)

                    
(11) การให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยของบรรษัทประกันต่อแห่งเอเชีย เฉพาะการให้บริการซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป”

                    
(12) การให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร เฉพาะการให้บริการแก่บรรษัทประกันต่อแห่งเอเชียที่กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 404) พ.ศ. 2545 ใช้บังคับ 23 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป)

                    (13) การให้บริการของสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 489) พ.ศ. 2552 ใช้บังคับ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)

                    (14) การให้บริการของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 510) พ.ศ. 2554 ใช้บังคับ 16 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป)

                    (15) การให้บริการของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งกระทำตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 546) พ.ศ. 2555 ใช้บังคับ 20 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป)

                    (16) การให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต”
(
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 585) พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ 2 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป)

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลตำรวจเอก เภา สารสิน

รองนายกรัฐมนตรี


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการบางกรณีตามมาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 เพื่อบรรเทาภาระภาษีและให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)